+ All Categories
Home > Documents > กระบวนการถอดรหัสพฤติกรรม ...Kasetsart Journal of...

กระบวนการถอดรหัสพฤติกรรม ...Kasetsart Journal of...

Date post: 04-Mar-2020
Category:
Upload: others
View: 7 times
Download: 0 times
Share this document with a friend
12
267 KASETSART JOURNAL OF SOCIAL SCIENCES 37 (2016) 267–278 ARTICLE INFO Article history: Received 12 July 2015 Received in revised form 26 January 2016 Accepted 27 January 2016 Keywords: animal behavior, decoding process, mudflow event ABSTRACT The objective of this research was to study the decoding process of animal behavior that implied mudflow events in Phrae, Uttaradit, and Sukhothai provinces, Thailand. The results could be used as a tool for predicting and understanding natural incidents related to mudflow events. The results of this study found that there are three significant steps in the animal behavior process regarding signs of mudflow events. Step 1 involved identifying animal behavior from a mudflow event and consisted of: 1) searching for groups of people who can provide the information, eyewitnesses, and experts on animal behavior; and 2) searching for animal behavior prior to a mudflow. Step 2 involved studying the biology and ecology of selected animals and their behavior before mudflow events which consisted of: 1) interviewing specialists on animal behavior with regard to mudflow events; and 2) reviewing the related animal behavior and mud flow event documentation. Step 3 involved synthesizing animal behavior which indicates the characteristics of animal biology and ecology in the context of mudflow events. From these three steps in the mudflow decoding process, six signs of animal behavior prior to a mudflow were identified based on eyewitness accounts: 1) enormous populations of frogs [Hoplobatrachus rugulosus], small green frogs [Microhyla pulchrals molossus], and bull frogs [Occidozga limas]; 2) large numbers of Enhydris enhydris found on roads; 3) unusually large numbers of centipedes; 4) land crabs were found out of their burrows in the day-time at long distances from watercourses; 5) termites were found during the day on higher land; and 6) large numbers of wild fowl. This decoding process showed the consistency of the three sources of data—local knowledgeable people, specialists on animal behavior, and scientific knowledge. มัชฌิมา ศุภวิมลพันธ์ a, *, โสภณ ธนะมัย b , และ นิพนธ์ ตั้งธรรม c Matchima Suphavimonphan a, *, Sophon Thanamai b , and Nipon Tangtham c a มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ แพร่ 54140 Maejo University, Phrae Campus, Phrae 54140, Thailand b ภาควิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม คณะสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรุงเทพฯ 10900 Department of Environmental Science, Facalty of Enviroment, Kasetsart University, Bangkok 10900, Thailand c ศูนย์วิจัยป่าไม้ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรุงเทพฯ 10900 Forestry Research Center, Faculty of Forestry, Kasetsart University, Bangkok 10900, Thailand กระบวนการถอดรหัสพฤติกรรมสัตว์ที่บอกนัยการเกิดดินโคลนถล่มในจังหวัดแพร่ อุตรดิตถ์ และสุโขทัย Decoding process of animal behavior implying mudflow events in Phrae, Uttaradit and Sukhotai provinces * Corresponding author. E-mail address: [email protected]
Transcript
Page 1: กระบวนการถอดรหัสพฤติกรรม ...Kasetsart Journal of social sciences 37 (2016) 269 แวดล อมท ม อย ในต วชาวบ

267K a s e t s a r t J o u r n a l o f s o c i a l s c i e n c e s 3 7 ( 2 0 1 6 ) 2 6 7 – 2 7 8

article info

Article history:received 12 July 2015received in revised form 26 January 2016 accepted 27 January 2016

Keywords: animal behavior, decoding process,mudflow event

aBstract

The objective of this research was to study the decoding process of animal behavior that implied mudflow events in Phrae, Uttaradit, and sukhothai provinces, thailand. the results could be used as a tool for predicting and understanding natural incidents related to mudflow events. The results of this study found that there are three significant steps in the animal behavior process regarding signs of mudflow events. Step 1 involved identifying animal behavior from a mudflow event and consisted of: 1) searching for groups of people who can provide the information, eyewitnesses, and experts on animal behavior; and 2) searching for animal behavior prior to a mudflow. step 2 involved studying the biology and ecology of selected animals and their behavior before mudflow events which consisted of: 1) interviewing specialists on animal behavior with regard to mudflow events; and 2) reviewing the related animal behavior and mud flow event documentation. step 3 involved synthesizing animal behavior which indicates the characteristics of animal biology and ecology in the context of mudflow events. From these three steps in the mudflow decoding process, six signs of animal behavior prior to a mudflow were identified based on eyewitness accounts: 1) enormous populations of frogs [Hoplobatrachus rugulosus], small green frogs [Microhyla pulchrals molossus], and bull frogs [Occidozga limas]; 2) large numbers of Enhydris enhydris found on roads; 3) unusually large numbers of centipedes; 4) land crabs were found out of their burrows in the day-time at long distances from watercourses; 5) termites were found during the day on higher land; and 6) large numbers of wild fowl. This decoding process showed the consistency of the three sources of data—local knowledgeable people, specialists on animal behavior, and scientific knowledge.

มัชฌิมา ศุภวิมลพันธ์a,*, โสภณ ธนะมัยb, และ นิพนธ์ ตั้งธรรมc

Matchima suphavimonphana,*, sophon thanamaib, and nipon tangthamc

a มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ แพร่ 54140 Maejo University, Phrae Campus, Phrae 54140, Thailandb ภาควิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม คณะสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรุงเทพฯ 10900 Department of environmental science, facalty of enviroment, Kasetsart university, Bangkok 10900, thailandc ศูนย์วิจัยป่าไม้ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรุงเทพฯ 10900 forestry research center, faculty of forestry, Kasetsart university, Bangkok 10900, thailand

กระบวนการถอดรหัสพฤติกรรมสัตว์ที่บอกนัยการเกิดดินโคลนถล่มในจังหวัดแพร่ อุตรดิตถ์ และสุโขทัยDecoding process of animal behavior implying mudflow events in Phrae, Uttaradit and Sukhotai provinces

* corresponding author.e-mail address: [email protected]

Page 2: กระบวนการถอดรหัสพฤติกรรม ...Kasetsart Journal of social sciences 37 (2016) 269 แวดล อมท ม อย ในต วชาวบ

268 K a s e t s a r t J o u r n a l o f s o c i a l s c i e n c e s 3 7 ( 2 0 1 6 )

บทคัดย่อ

การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการ

ถอดรหัสพฤติกรรมสัตว์ท่ีบอกนัยการเกิดดินโคลนถล่ม

ในจังหวัดแพร่ อุตรดิตถ์ และสุโขทัย ซ่ึงจะเป็นเครื่องมือ

ค้นหาองค์ความรู้ปรากฏการณ์ธรรมชาติที่เกี่ยวกับการเกิด

ดินโคลนถล่ม ผลการวิจัยพบว่า กระบวนการถอดรหัส

พฤติกรรมสัตว์ที่บอกนัยการเกิดดินโคลนถล่ม มี 3 ขั้น

ตอน ดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 การระบุพฤติกรรมสัตว์ท่ีพบเห็น

ก่อนเกิดดินโคลนถล่ม ประกอบด้วย 1) การสอบถามจาก

บุคคลในท้องถิ่น มีวิธีการ 2 ขั้นตอน ได้แก่ 1) การค้นหาผู้

พบเห็นพฤติกรรมสัตว์และผู ้รู ้พฤติกรรมสัตว์ 2) การ

ค้นหาพฤติกรรมสัตว์ก่อนเกิดดินโคลนถล่ม ขั้นตอนที่ 2

ศึกษาชีววิทยาและนิเวศวิทยาของสัตว์ที่ถูกระบุพฤติกรรม

สัตว์ที่พบเห็นก่อนเกิดดินโคลนถล่ม ประกอบด้วย 1) การ

สัมภาษณ์ผู ้ เชี่ยวชาญเฉพาะด ้านของสัตว ์ที่ถูกระบุ

พฤติกรรมก่อนเกิดดินโคลนถล่ม 2) การตรวจเอกสารที่

เกี่ยวกับสัตว์ที่ถูกระบุพฤติกรรมก่อนเกิดดินโคลนถล่ม

และขั้นตอนที่ 3 สังเคราะห์พฤติกรรมสัตว์ที่ถูกระบุกับ

ลักษณะทางชีววิทยาและนิเวศวิทยาของสัตว์ จากการใช้

กระบวนการทั้ง 3 ขั้นตอน ได้สัญลักษณ์ที่เป็นพฤติกรรม

สัตว์ก่อนเกิดดินโคลนถล่มจ�านวน 6 ชนิด ได้ดังน้ี 1) การ

ปรากฏกบ เขียด อึ่งจ�านวนมากผิดปกติ 2) การปรากฏงู

สายรุ้งจ�านวนมากบนถนน 3) การปรากฏตะขาบจ�านวน

มากผิดปกติ 4) การเดินข้ึนท่ีสูงห่างจากล�าธารของปูน�้าจืด

ในเวลากลางวัน 5) การอพยพรังขึ้นที่สูงของปลวกในเวลา

กลางวันและกลางคืนติดต่อกัน 2–3 วัน และ 6) การปรากฏ

ของไก่ป่าจ�านวนมาก กระบวนการถอดรหัสนี้แสดงถึง

ความสอดคล้องกันของข้อมูลจาก 3 แหล่ง คือ ผู้รู้ในท้อง

ถิ่น ผู้เชี่ยวชาญ และองค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์

ค�ำส�ำคัญ: พฤติกรรมสัตว์ กระบวนการถอดรหัส ดินโคลน

ถล่ม

บทน�า

การเกิดดินโคลนถล่มเป็นภัยพิบัติท่ีนับวันจะมี

ความถี่ในการเกิดและมีความรุนแรงมากขึ้น โดยเหตุการณ์

ครั้งส�าคัญที่ท�าให้เกิดความสูญเสียต่อชีวิตและทรัพย์สิน

อย่างรุนแรง เริ่มตั้งแต่ในปี พ.ศ. 2531 ที่บ้านกระทูน

อ�าเภอพิปูน จังหวัดนครศรีธรรมราช ซึ่งท�าให้มีผู้เสียชีวิต

มากกว่า 200 คน ต่อมาในปี พ.ศ. 2544 ได้เกิดดินถล่มที่

บ้านน�้าก้อ อ�าเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ มีผู้เสียชีวิต

131 คน และที่อ�าเภอวังชิ้น จังหวัดแพร่ มีผู้เสียชีวิต 43 คน

สูญหาย 4 คน บ้านเรือนเสียหาย 18 หลัง คิดเป็นมูลค่า

ความเสียหายประมาณ 100 ล้านบาท จนถึงเหตุการณ์ใน

พื้นที่ 3 จังหวัดภาคเหนือตอนล่าง ได้แก่ อ�าเภอลับแล

อ�าเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์ อ�าเภอศรีสัชนาลัย จังหวัด

สุโขทัย และอ�าเภอเมือง จังหวัดแพร่ โดยในจังหวัด

อุตรดิตถ์มีผู้เสียชีวิต 83 คน บ้านเรือนเสียหาย 673 หลัง

พ้ืนที่ทางการเกษตรเสียหาย 481,830 ไร่ คิดเป็นมูลค่า

ความเสียหายรวม 308.6 ล้านบาท จังหวัดสุโขทัยมีผู้เสีย

ชีวิต 7 คนส่วนจังหวัดแพร่มีผู้เสียชีวิต 5 คน (ทินกร, 2551)

ภูมิปัญญาท้องถิ่นเกิดจากวิถีชีวิตของมนุษย์ที่มี

ระบบความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับมนุษย์ มนุษย์กับ

สังคม และมนุษย์กับธรรมชาติ ซ่ึงการด�าเนินชีวิตของ

มนุษย์นั้นเกิดการเรียนรู้และสั่งสมประสบการณ์เป็นระยะ

เวลานานโดยอาศัยศักยภาพที่มีอยู่ปรับตัวและแก้ปัญหา

ในการด�าเนินชีวิตต่างๆ จนเหมาะสมกับบริบทสังคมและ

สภาพแวดล้อมทางธรรมชาติของตน แต่จากการพัฒนา

ของรัฐที่มุ่งการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมในช่วง 40–50 ปี

ที่ผ่านมา ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงวิถีการด�าเนินชีวิต

ของชาวบ้านอย่างมาก สิ่งแวดล้อมธรรมชาติและระบบ

นิเวศเสียสมดุล และได้เปลี่ยนฐานความเช่ือเกี่ยวกับระบบ

ความสัมพันธ์ระหว่างคนกับธรรมชาติ เกิดความรู้ ความ

คิด และวิธีการที่มีรากฐานมาจากวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี

ของโลกตะวันตกเข้ามามีอิทธิพล แต่ชาวบ้านทั่วไปปรับ

ความคิดและพฤติกรรมไม่ทัน ดังนั้น การฟื้นฟูวิถีชีวิตชาว

บ้านและการจัดการสิ่งแวดล้อม โดยการใช้ภูมิปัญญาท้อง

ถิ่นที่มีมาแต่อดีต และสามารถน�าเอาภูมิปัญญาเหล่านั้นไป

ใช้จัดการส่ิงแวดล้อมในท้องถิ่นน้ันๆ ต่อไป จึงมีความ

ส�าคัญอย่างยิ่ง

ภูมิปัญญาท้องถิ่นซ่ึงเป็นองค์ความรู้การจัดการส่ิง

Page 3: กระบวนการถอดรหัสพฤติกรรม ...Kasetsart Journal of social sciences 37 (2016) 269 แวดล อมท ม อย ในต วชาวบ

269K a s e t s a r t J o u r n a l o f s o c i a l s c i e n c e s 3 7 ( 2 0 1 6 )

แวดล้อมที่มีอยู่ในตัวชาวบ้าน โดยองค์ความรู้เหล่าน้ันมา

จากการพบเห็นพฤติกรรมของสัตว์ เช่น พรพรรณ (2544)

พบว่า ชาวปกาเกอยอรู ้วิธีการท�านายฝนโดยอาศัยการ

ออกลูกของต้นมะเดื่อป่า ส่วนมด ปลวก บอกได้ว่าปีนี้จะมี

น�้ามากหรือน�้าน้อย (แล้ง) ประกิต (2546) พบว่า การ

พยากรณ์ฝนดูจากหางแลน ถ้ามีสีแดงจะมีฝนมาก มีสีขาว

จะมีฝนน้อย เสียงนกแซว นกเดือย นกตู้ ท�านายฝนได้ล่วง

หน้า 2–3 วัน ส่วนเสียงร้องของเขียด ตั๊กแตน ท�านายฝน

ล่วงหน้า 1 วัน พรชัย และ วารินทร์ (2546) ศึกษาภูมิปัญญา

ชาวป่าเมี่ยง (ชา) พบว่าชาวป่าเมี่ยงใช้วิธีการฟังเสียง การ

อพยพเคลื่อนย้ายของสัตว์ การเปลี่ยนสีของสัตว์เลื้อย

คลานและการเปลี่ยนแปลงของต้นไม้บางชนิดท�านายการ

ตกของฝน และใช้สัตว์เป็นตัวชี้วัดดัชนีคุณภาพน�้า เช่น กบ

ปลา และแมลงในน�้า ซึ่งสอดคล้องกับ กนกพันธุ์ (2546)

พบปูห้วย แมงอีนิ้ว แมงแต๊บ และแมงกั้นเยี่ยว แสดงว่า

คุณภาพน�้าสะอาด แต่ถ้าพบหนอนน�า้ ไส้เดือนน�า้ แสดงว่า

คุณภาพน�้าสกปรก Browning et al. (2005) ได้ศึกษา

ทิศทางการเดินของช้างก่อนเกิดสึนามิในประเทศศรีลังกา

พบว่า ทิศทางการเดินของช้างมุ่งหน้าเข้าสู่แผ่นดินโดยหนี

ห่างจากแนวชายฝั่ง ส่วน สุพจน์ (2548) พบว่า ถ้าพบเสือ

และหรือนกกกในป่า แสดงว่าป่านั้นมีความสมบูรณ์

พฤติกรรมสัตว์ต่างๆ เหล่านี้เป็นสัญชาตญาณของ

สัตว์ที่เป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติ ดังน้ัน การถอดรหัส

ความหมายหรือแปลความหมายจากพฤติกรรมน้ันไปสู่

การวิเคราะห์และพิสูจน์หาความสัมพันธ์ทางวิทยาศาสตร์

โดยใช้กระบวนการถอดรหัสในกระบวนการส่ือสารเพื่อ

หาความรู้ซึ่งอยู่เบื้องหลังพฤติกรรมสัตว์ต่างๆ เหล่านั้น

อันจะท�าให้ประชาชนท่ีอยู่อาศัยในพ้ืนท่ีเส่ียงภัยดินโคลน

ถล่มสามารถอยู่อาศัยได้อย่างปลอดภัยและเรียนรู้เท่าทัน

ภัยพิบัติดินโคลนถล่ม

ดั ง น้ัน การวิ จั ยนี้ มี วั ตถุประสงค ์ เพื่ อ ศึกษา

กระบวนการถอดรหัสพฤติกรรมสัตว์ที่บอกนัยการเกิดดิน

โคลนถล่ม ซึ่งเป็นกระบวนการไปสืบค้นหาองค์ความรู้

ของชาวบ้านที่อยู ่ในรูปของการพบเห็นพฤติกรรมสัตว์

ก่อนเกิดดินโคลนถล่ม แล้วน�าไปสู ่การวิเคราะห์และ

พิสูจน์หาความสัมพันธ์ด้วยองค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์

ท�าให้เกิดความเข้าใจถึงสาเหตุของพฤติกรรมสัตว์เหล่า

นั้น

นิยามศัพท์

ดินโคลนถล่ม หมายถึง ภัยพิบัติที่ เกิดขึ้นตาม

ธรรมชาติโดยการเคลื่อนที่ของดินและหินผุที่อิ่มด้วยน�้าที่

ถล่มเลื่อนไหลมาจากไหล่เขาและลาดเขาที่มีความลาดชัน

มากกว่าร้อยละ 30 เมื่อมีฝนตกหนักต่อเนื่องดินและหินผุที่

ถล่มลงมาเกิดการเลื่อนไหลลงมาอย่างรวดเร็วท�าลายชีวิต

และทรัพย์สินชาวบ้านที่ตั้งอยู่ในรัศมี

พฤติกรรมสัตว์ หมายถึง พฤติกรรมของสัตว์ต่างๆ

ที่ผู ้ เห็นพฤติกรรมของสัตว์เห็นก่อนเกิดเหตุการณ์ดิน

โคลนถล่ม

ผู ้พบเห็นพฤติกรรมสัตว์ก่อนเกิดดินโคลนถล่ม

หมายถึง บุคคลผู ้อาศัยในหมู ่บ้านที่เกิดดินโคลนถล่ม

จังหวัดแพร่ อุตรดิตถ์ และสุโขทัย ซึ่งเห็นพฤติกรรมของ

สัตว์ก่อนเกิดเหตุการณ์ดินโคลนถล่มในปี พ.ศ. 2544 และ

2549

ผู ้รู ้พฤติกรรมสัตว์ หมายถึง ผู ้ที่มีประสบการณ์

และมีความรู้เกี่ยวกับพฤติกรรมของสัตว์ที่บอกนัยการเกิด

ดินโคลนถล่มซึ่งอยู่ในจังหวัดแพร่ อุตรดิตถ์ และสุโขทัย

การถอดรหัส หมายถึง การวิเคราะห์ความสัมพันธ์

ระหว่างพฤติกรรมของสัตว์ที่พบเห็นก่อนเกิดดินโคลน

ถล่มกับองค์ความรู ้ทางวิทยาศาสตร์ด้านชีววิทยาและ

นิเวศวิทยาของสัตว์นั้น

กระบวนการถอดรหัส หมายถึง ขั้นตอนการ

วิเคราะห์พฤติกรรมสัตว์ที่พบเห็นก่อนเกิดดินโคลนถล่ม

กับองค ์ความรู ้ทางวิทยาศาสตร ์ที่ เ ก่ียวกับสัตว ์นั้น

ประกอบด้วย 3 ขั้นตอน ได้แก่ 1) การระบุพฤติกรรมสัตว์

ที่พบเห็นก่อนเกิดดินโคลนถล่ม 2) การศึกษาชีววิทยาและ

นิเวศวิทยาของสัตว์ที่ถูกระบุพฤติกรรมสัตว์ที่พบเห็นก่อน

เกิดดินโคลนถล่ม และ 3) การสังเคราะห์พฤติกรรมสัตว์ที่

ถูกระบุกับลักษณะทางชีววิทยาและนิเวศวิทยาของสัตว์

Page 4: กระบวนการถอดรหัสพฤติกรรม ...Kasetsart Journal of social sciences 37 (2016) 269 แวดล อมท ม อย ในต วชาวบ

270 K a s e t s a r t J o u r n a l o f s o c i a l s c i e n c e s 3 7 ( 2 0 1 6 )

วิธีด�าเนินการวิจัย

ก า ร วิ จั ย น้ี ไ ด ้ ป ร ะ ยุ ก ต ์ ใ ช ้ ก า ร ถ อ ด ร หั ส ใ น

กระบวนการสื่อสารไปสืบค้นหาองค์ความรู ้ภูมิปัญญา

ท้องถิ่นทางปรากฎการณ์ธรรมชาติ โดยใช้วิธีการวิจัยเชิง

คุณภาพ (qualitative research approach) ใช้การสัมภาษณ์

เชิงลึก (in-depth interviewing technique) เพื่อน�า

กระบวนการถอดรหัสไปสืบค้นหาองค์ความรู้ภูมิปัญญา

ท้องถิ่น ผู ้วิจัยใช้เวลาในการเก็บรวบรวมข้อมูล ตั้งแต่

เดือนสิงหาคม พ.ศ. 2551 จนถึงเดือนธันวาคม พ.ศ. 2553

โดยมีขั้นตอน ดังนี้

1. พ้ืนที่ศึกษา ด�าเนินการในพื้นที่ภาคเหนือตอน

ล่างที่เกิดดินโคลนถล่มในปี พ.ศ. 2544 ได้แก่ อ�าเภอวังชิ้น

จังหวัดแพร่ และ ปี พ.ศ. 2549 ได้แก่ อ�าเภอเมือง จังหวัด

แพร่ อ�าเภอเมือง อ�าเภอลับแล และอ�าเภอท่าปลา จังหวัด

อุตรดิตถ์ และอ�าเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย

2. การเก็บรวบรวมข้อมูล โดยการวิเคราะห์

เอกสาร การสัมภาษณ์แบบก่ึงโครงสร้าง การสังเกตุการณ์

ผู้ให้ข้อมูลหลัก (key informant) แบ่งออกเป็น

(1) กลุ่มผู้พบเห็นพฤติกรรมสัตว์ เป็นผู้ท่ีพบเห็น

พฤติกรรมสัตว์ก่อนจะเกิดเหตุการณ์ดินโคลนถล่ม เลือก

จากผู้ที่มีภูมิล�าเนาในพื้นที่ มีอายุระหว่าง 30–70 ปี และมี

ความจ�าดี โดยการเลือกแบบเฉพาะเจาะจง (purposive

sampling) แล ้วท�าการสุ ่มแบบต่อเนื่อง (snowball

sampling) และเก็บข้อมูลเพิ่มเติมโดยการสนทนากลุ่ม

(focus group)

(2) กลุ่มผู้รู้พฤติกรรมสัตว์ เลือกจากผู้ที่มีความรู้ มี

ประสบการณ์และเกิดองค์ความรู้เก่ียวกับพฤติกรรมสัตว์

และเป็นผู้ที่ได้รับความรู้จากบรรพบุรุษเกี่ยวกับพฤติกรรม

สัตว์ โดยใช้วิธีการสุ่มแบบต่อเน่ือง แล้วท�าการเลือกแบบ

เฉพาะเจาะจง

(3) กลุ่มผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านเก่ียวกับสัตว์ เป็น

บุคคลที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญเก่ียวกับสัตว์ท่ีถูกระบุว่า

พบเห็นก่อนเกิดเหตุการณ์ดินโคลนถล่ม โดยการเลือก

แบบเฉพาะเจาะจงและสุ่มแบบต่อเนื่อง

การเก็บข้อมูลจะเป็นไปตามขั้นตอนกระบวนการ

ถอดรหัสพฤติกรรมสัตว์ที่บอกนัยการเกิดดินโคลนถล่มที่

ผู้วิจัยได้แบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอน ประกอบด้วย 1) การระบุ

พฤติกรรมสัตว์ที่พบเห็นก่อนเกิดดินโคลนถล่ม 2) ศึกษา

ชีววิทยาและนิเวศวิทยาของสัตว์ที่ถูกระบุพฤติกรรมก่อน

เกิดดินโคลนถล่ม และ 3) สังเคราะห์พฤติกรรมสัตว์ที่ถูก

ระบุกับลักษณะทางชีววิทยาและนิเวศวิทยาของสัตว์

3. การวิเคราะห์ข้อมูล ใช้การวิเคราะห์เน้ือหา

(content analysis) โดยน�าข้อมูลจากการสัมภาษณ์ การถอด

เทป การวิเคราะห์เอกสาร จัดกลุ่มค�าตอบให้เป็นหมวดหมู่

(category) และสร้างข ้อสรุปแบบอุปนัย (analytic

induction) สร้างความน่าเช่ือถือโดยการยืนยันความถูก

ต้องจากผู้รู้พฤติกรรมสัตว์ ผู้เช่ียวชาญเฉพาะด้าน และให้

บุคคลในพื้นที่ที่สามารถพูด อ่าน เขียนภาษาไทยได้เป็นผู้

ตรวจสอบความถูกต้องของภาษา

ผลการวิจัย

การระบุพฤติกรรมสัตว์ที่พบเห็นก่อนเกิดดินโคลนถล่ม

1. การค้นหาผู ้พบเห็นพฤติกรรมสัตว์และผู ้รู ้

พฤติกรรมสัตว์

1.1 การค้นหาผู้พบเห็นพฤติกรรมสัตว์ก่อนเกิดดิน

โคลนถล่ม ผลปรากฏว่ามีจ�านวนกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 304

คน โดยเป็นประชาชนจังหวัดแพร่ 100 คน ประชาชน

จังหวัดอุตรดิตถ์ 151 คน และประชาชนจังหวัดสุโขทัย 53

คน (ตารางที่ 1)

1.2 การค้นหาผู ้รู ้พฤติกรรมสัตว์ มีผู ้รู ้ทั้งหมด

จ�านวน 7 คน เป็นประชาชนจังหวัดแพร่ 2 คน จังหวัด

อุตรดิตถ์ 2 คน และจังหวัดอุตรดิตถ์ 3 คน

2. การค้นหาพฤติกรรมสัตว์ก่อนเกิดดินโคลน

ถล่ม

2.1 การค้นหาจากผู้พบเห็นพฤติกรรมสัตว์ก่อน

เกิดดินโคลนถล่ม พบว่าผู้เห็นพฤติกรรมสัตว์ก่อนเกิดดิน

โคลนถล่มใน 3 จังหวัด พบเห็นพฤติกรรมสัตว์ทั้งหมด 6

ชนิด ได้แก่ (1) กบ เขียด อึ่ง จ�านวนผู้พบเห็น 212 คน

(69.74%) (2) งูสายรุ้ง จ�านวนผู้พบเห็น 191 คน (62.83%)

(3) ตะขาบ จ�านวนผู้พบเห็น 194 คน (63.82%) (4) ปูน�้าจืด

Page 5: กระบวนการถอดรหัสพฤติกรรม ...Kasetsart Journal of social sciences 37 (2016) 269 แวดล อมท ม อย ในต วชาวบ

271K a s e t s a r t J o u r n a l o f s o c i a l s c i e n c e s 3 7 ( 2 0 1 6 )

จ�านวนผู้พบเห็น 206 คน (67.76%) (5) ปลวก จ�านวนผู้

พบเห็น 95 คน (31.25%) และ (6) ไก่ป่า มีผู้พบเห็นจ�านวน

72 คน (23.68%) (ตารางที่ 1)

2.2 ค้นหาจากผู้รู้พฤติกรรมสัตว์ สามารถสรุปได้

ว่า (1) การปรากฏกบ เขียด อึ่งจ�านวนมากผิดปกติ และ

สามารถมองเห็นตามบ้านเรือนในเวลากลางวันแสดงว่าจะ

เกิดฝนตกหนัก เพราะสัตว์เหล่านี้มันรับรู ้ความชื้นใน

อากาศ จึงออกมามาก เมื่อมีฝนตกน�า้จะขังตามบ่อตามห้วย

พวกกบ เขียด อึ่งจะออกมาผสมพันธุ์ (2) การปรากฏของงู

สายรุ้งจ�านวนมากบนถนน การได้พบเห็นงู หรืองูเลื้อยเข้า

บ้านแสดงว่าจะเกิดอาเพศกับคนที่อาศัยอยู่ในบ้านนั้น (3)

การปรากฏของตะขาบจ�านวนมากผิดปกติ ปกติตะขาบมัน

อยู่ในรู เมื่อฝนตกพื้นดินมีความชื้นและน�้าเข้าไปท่วมรู

มันจึงหนีออกมา ดังนั้น ถ้าเห็นตะขาบออกมามาก หรือ

เห็นมันขึ้นไปอยู่ตามซอกเปลือกไม้ของต้นไม้ยืนตาย ให้

ระวังน�้าท่วม (4) การเดินขึ้นที่สูงห่างจากล�าธารของปูน�้า

จืดในเวลากลางวัน ปู่ย่าตายายบอกไว้ว่าเม่ือเห็นปูเดินขึ้น

เขาให้ระวังน�้าจะท่วมหนัก เพราะน�้าคงจะท่วมรูของมัน

(5) การอพยพรังขึ้นที่สูงของปลวก การพบเห็นปลวกสีด�า

ตัวใหญ่ ย้ายรังขึ้นไปตามฝาผนังบ้านติดต่อกันหลายวัน

แสดงว่าจะมีฝนตกหนัก ให้ระวังน�้าท่วม เพราะน�้าคงจะ

เข้ารังของมัน และ (6) การปรากฏของไก่ป่าจ�านวนมากใน

หมู่บ้าน ไก่ป่าเข้าหมู่บ้านแสดงว่าจะเกิดอาเพศ จะมีฝน

ตกหนัก

การศึกษาชีววิทยาและนิเวศวิทยาของสัตว์ที่ถูกระบุ

พฤติกรรมก่อนเกิดดินโคลนถล่ม

1. การตรวจเอกสารพฤติกรรมสัตว์ก่อนเกิดดิน

โคลนถล่ม

1.1 กบ เขียด อึ่ง เป็นสัตว์สะเทินน�้าสะเทินบก

ออกหากินในเวลากลางคืนหรือหลังฝนตก เนื่องจากหลีก

เลี่ยงอุณหภูมิสูงในเวลากลางวันและความช้ืนที่มีค่าต�่ากว่า

เวลากลางคืน ดังนั้นเวลากลางวันจึงหลบซ่อนเพื่อป้องกัน

การสูญเสียน�้า หนังของสัตว์เหล่านี้บางท�าให้สามารถ

แลกเปลี่ยนก๊าซได้ แต่ทนทานต่อความแห้งแล้งได้น้อย น�้า

จึงระเหยผ่านผิวหนังได้อย่างรวดเร็ว ในขณะเดียวกัน

สามารถซึมซาบน�้าผ่านทางผิวหนังเข้าสู่ล�าตัวได้ดี ดังนั้น

จึงต้องอาศัยในพื้นที่ชุ่มชื้นตลอดเวลา (วีรยุทธ์, 2552)

ตารางที่ 1 จ�านวนและร้อยละของผู้พบเห็นพฤติกรรมสัตว์ก่อนเกิดดินโคลนถล่ม จ�าแนกตามรายจังหวัด

(n = 304)

จังหวัด

(คน)

อ�าเภอ

(คน)

คนที่พบเห็นสัญลักษณ์ (จ�านวน (%ะ))

กบ เขียด อึ่ง งูสายรุ้ง ตะขาบ ปูน�้าจืด ปลวก ไก่ป่า

แพร่ เมือง (45) 35 (77.78) 32 (71.11) 33 (73.33) 30 (67.00) - -

(100) วังชิ้น (55) 36 (65.45) 33 (60.00) 33 (60.00) 39 (70.91) - 46 (83.64)

รวม 71 (71.00) 65 (65.00) 66 (66.00) 69 (69.00) - 46 (46.00)

อุตรดิตถ์ เมือง (42) 25 (59.52) 28 (66.67) 30 (71.43) 29 (69.05) 26 (61.90) -

(151) ลับแล (41) 29 (70.73) 18 (43.90) 24 (58.54) 28 (68.29) 32 (78.05) -

ท่าปลา (68) 51 (75.00) 48 (70.59) 51 (75.0) 49 (72.06) - 25 (36.76)

รวม 105 (69.54) 94 (62.25) 105 (69.54) 106 (70.20) 58 (38.67) 25 (16.67)

สุโขทัย

(53)

ศรีสัชนาลัย

(53)

36 (67.92) 32 (60.38) 23 (43.40) 31 (58.49) 37 (69.81) -

รวม (304) 212 (69.74) 191 (62.83) 194 (63.82) 206 (67.76) 95 (31.25) 72 (23.68)

Page 6: กระบวนการถอดรหัสพฤติกรรม ...Kasetsart Journal of social sciences 37 (2016) 269 แวดล อมท ม อย ในต วชาวบ

272 K a s e t s a r t J o u r n a l o f s o c i a l s c i e n c e s 3 7 ( 2 0 1 6 )

1.2 งูสายรุ้งเป็นสัตว์เลื้อยคลาน รับรู้อุณหภูมิโดย

การรับรู้จากการสัมผัสโดยตรงผ่านทางผิวหนัง และการ

รับแรงสั่นสะเทือน โดยงูมีต่อมผิวหนังที่รับรู้สัมผัสได้ ซึ่ง

เป็นต่อมขนาดเล็กและมีหนาแน่นบริเวณหัวและกระจาย

ทั่วไปบนล�าตัวและหู ซึ่งมีต�าแหน่งอยู่ทางด้านบนของหัว

บริเวณด ้านท ้ายของรอยต ่อระหว ่างขากรรไกรกับ

กะโหลก งูไม่สามารถรับฟังคลื่นเสียงจากในอากาศและ

รับรู้ได้เฉพาะแรงสั่นสะเทือนบนพื้นดินที่ผ่านไปตามขา

กรรไกรล่าง (วีรยุทธ์, 2552)

1.3 ตะขาบ หายใจด ้วยระบบท่อ สไพเรเคิล

(spiracle) แบบเปิด มีขนเรียงเป็นวงอยู่ภายใน ลดการแห้ง

และป้องกันฝุ่นผง การแลกเปลี่ยนก๊าซระหว่างท่อลมย่อย

กับเลือด และเนื่องจากคิวติเคิลชั้นนอกไม่มีขี้ผึ้งเคลือบ

ท�าให้ไม่สามารถทนต่อความแห้งแล้ง จึงซ่อนตัวอยู่ในที่มี

ความชื้น และออกล่าเหยื่อในเวลากลางคืน อวัยวะรับรู้สึก

ตะขาบบางชนิดมีโอเซลไลรวมกลุ่มกันเป็นตาประกอบ

ทั้งโอเซลไลและตาประกอบท�าหน้าที่รับรู้ความเข้มของ

แสง บริสเทิลและรยางค์บนผิวตัวเชื่อมกับอวัยวะรับ

สัมผัส อวัยวะรับรู้แรงสั่นสะเทือน และมีอวัยวะรับแรงสั่น

สะเทือนอยู่บนคิวติเคิลที่ข้อต่อต่างๆ (บพิธ และ นันทพร,

2546)

1.4 ปูน�้าจืด Ng (1988) อธิบายว่าปูน�้าจืดที่อยู่ใน

พื้นที่สูงจะถูกจ�ากัดให้อยู ่เฉพาะในล�าธารหรือแหล่งน�้า

ส่วนใหญ่อาศัยขุดรูอยู่ตามเนินดินบริเวณชายป่าซ่ึงมีน�้าขัง

ในช่วงฤดูฝน เสริมศักด์ิ และ ถมรัตน์ (2546) กล่าวว่า

ส�าหรับปูก�่าเป็นปูป่าอาศัยอยู่ในรูตามบริเวณบ้านคนที่ดิน

ชื้นๆ และออกหากินในเวลากลางคืน ปูน�้าจืดหายใจโดย

ใช้เหงือก การแลกเปลี่ยนก๊าซจะเกิดขึ้นโดยออกซิเจนที่มา

พ ร ้ อ ม กั บ ก ร ะ แ ส น�้ า จ ะ แ พ ร ่ เ ข ้ า สู ่ เ ลื อ ด แ ล ะ

คาร์บอนไดออกไซด์ที่อยู่ในเลือดจะแพร่เข้าสู่กระแสน�า้

1.5 ปลวก หมายถึง Hospitalitermes ataramensis

อวบ จรัล และ ณิศ (2543) กล่าวว่าเป็นปลวกท่ีสร้างรัง

ขนาดเล็กอยู่บนดินหรือเหนือพ้ืนดิน ซ่ึง จารุณี และ ยุพา

พร (2547) พบว่าท�ารังขนาดเล็กอยู่บริเวณโคนต้นไม้ ใน

โพรงต้นไม้ ยุพาพร และ จารุณี (2546) พบว่ามีการแพร่

กระจายทุกภาคของประเทศไทย ยุพาพร และ จารุณี

(2547) ได้อธิบายว่าปลวกเป็นแมลงที่อยู่กันเป็นสังคม

(social behavior) และ ณิศ (2536) กล่าวว่าปลวกโดยทั่วไป

เป็นแมลงที่ชอบอาศัยและมีชีวิตอยู่ในที่มืด กิจกรรมต่างๆ

ของปลวกจะด�าเนินกิจกรรมในที่มืดตลอดเวลาเกือบ

ทั้งหมด ปัจจัยสิ่งแวดล้อมที่มีอิทธิพลต่อการแพร่กระจาย

ของปลวก คือ อุณหภูมิและความชื้น ซึ่ง Howse (1960)

พบว่ารังปลวกที่มีความช้ืนสัมพัทธ์ภายในรังสูงระหว่าง

96-99 RH ปลวกเข้าสู่จุดอิ่มตัว และการลดลงของปริมาณ

น�้าในตัวท�าให้ปลวกตายได้ในที่สุด

1.6 ไก่ป่า ไก่ป่าตุ้มหูแดงมีช่วงการสืบพันธุ์ตั้งแต่

เดือนพฤศจิกายน-พฤษภาคม มีพฤติกรรมการรวมกลุ่ม

โดยกิจกรรมหลักคือการหาอาหาร การใช้พื้นที่ของไก่ป่า

พบว่ามีความสัมพันธ์ปัจจัยทางชีวภาพ ได้แก่ การรบกวน

จากมนุษย์ และความชุกชุมของอาหาร (สุทธิพงศ์, 2551)

2. การสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านของสัตว์

ที่ถูกระบุพฤติกรรมก่อนเกิดดินโคลนถล่ม

ผู ้เชี่ยวชาญอธิบายพฤติกรรมของสัตว์ที่พบเห็น

ก่อนเกิดดินโคลนถล่ม มีผู้เชี่ยวชาญทั้งหมด 17 คน องค์

ความรู้เกี่ยวกับสัตว์ก่อนเกิดดินโคลนถล่มสามารถสรุป

แบบอุปนัย ได้ดังนี้

2.1 กบ เขียด อึ่ง เป็นสัตว์ออกหากินในเวลากลาง

คืนหรือหลังฝนตก จ�านวนที่พบมากกว่าปกติมีความ

สัมพันธ์กับความช้ืนและปริมาณน�้าฝน ซ่ึงสัตว์เหล่าน้ัน

อาจจะไม่รู้ว่าจะเกิดดินโคลนถล่มแต่มันสามารถสัมผัสได้

จากความชื้นในอากาศ และผิวหนังของสัตว ์ เหล่านี้

สามารถซึมซาบน�้าผ่านทางผิวหนังเข้าสู่ล�าตัวได้

2.2 งูสายรุ้ง งูสายรู้งเป็นงูที่อาศัยและหากินในน�้า

กินกบ เขียด และปลาเป็นอาหาร ซึ่งก่อนที่จะเกิดดินโคลน

ถล่มก็จะมีสัตว์เหล่านี้เป็นจ�านวนมาก และงูมีอวัยวะรับ

รู้สึกการรับแรงสั่นสะเทือน ซึ่งอาจจะรับรู้แรงสั่นสะเทือน

ที่เกิดขึ้นบนภูเขาโดยการส่งผ่านมาทางล�าน�้า

2.3 ตะขาบ ตะขาบออกหากินในเวลากลางคืน

เพราะไม่สามารถทนต่อความร้อน (แห้งแล้ง) ได้เนื่องจาก

คิวติเคิลชั้นนอกไม่มีขี้ผึ้งเคลือบ หายใจด้วยระบบท่อ สไพ

เรเคิล (spiracle) แบบเปิดซึ่งอยู่ที่ด้านข้างของปล้องล�าตัว

มีอวัยวะรับแรงสั่นสะเทือนอยู่บนคิวติเคิลที่ข้อต่อต่างๆ

Page 7: กระบวนการถอดรหัสพฤติกรรม ...Kasetsart Journal of social sciences 37 (2016) 269 แวดล อมท ม อย ในต วชาวบ

273K a s e t s a r t J o u r n a l o f s o c i a l s c i e n c e s 3 7 ( 2 0 1 6 )

2.4 ปูน�้าจืด ปูน�้าจืดจะออกหากินเวลากลางคืน

บริเวณที่ชื้นแฉะ ในล�าธารหรือแอ่งน�้า และเวลากลางวัน

อาศัยอยู่ในรูใกล้ล�าน�้า ปูน�้าจืดหายใจโดยใช้เหงือกแลก

เปลี่ยนอากาศ ซ่ึงไปสัมพันธ์กับความชื้นและน�้าฝนก่อนที่

จะเกิดดินโคลนถล่ม จึงสามารถเห็นปูน�้าจืดในเวลากลาง

วันได้

2.5 ปลวก ปลวกเป็นสัตว์สังคม สื่อสารโดยการใช้

ฮอร์โมนท�าให้สามารถอพยพได้ทั้งรัง โดยเฉพาะปลวก

แม่น�้านองมันสามารถจะอพยพก่อนจะเกิดน�้าท่วม น�้าอาจ

จะท่วมรังหรือความชื้นที่เกิดจากระดับน�้าใต้ดิน ปกติ

ปลวกงานมีหน้าที่หาอาหารและจะออกหาอาหารเฉพาะ

ตอนกลางคืนเท่านั้น

2.6 ไก่ป่า ไก่ป่าเป็นสัตว์ท่ีหากินในเวลากลางวัน

อาหารของไก่ป่าจะพบว่าอาหารหลักคือ มด ปลวก และ

ด้วง เมื่อมด ปลวก หนีน�้าขึ้นที่สูงเลยท�าให้ไก่ป่าตามเหยื่อ

พวกนี้ขึ้นไปด้วย ถึงแม้ว ่าไก่ป่าตัวผู ้จะมีอาณาเขตที่

แน่นอน และจะป้องกันอาณาเขตของตัวเอง แต่เมื่อเหยื่อ

หลากหลายชนิดไปเกาะกลุ่มกันอยู่ใกล้หมู่บ้านซ่ึงต้อง

ย่อมเป็นที่ค่อนข้างสูง และย่อมไม่รวมอยู่ในอาณาครอบ

ครองของไก่ป่ากลุ่มใดกลุ่มหนึ่งเนื่องจากการรบกวนจาก

ชุมชน ดังนั้นไก่ทุกตัวจึงไม่จ�าเป็นต้องป้องกันอาณาเขต

และสามารถหากินร่วมกันได้เป็นการชั่วคราว ชาวบ้านจึง

พบว่าไก่ป่ารวมฝูงกันเป็นจ�านวนมาก

การสังเคราะห์พฤติกรรมสัตว์ที่ถูกระบุกับลักษณะทาง

ชีววิทยาและนิเวศวิทยาของสัตว์

เมื่อได้องค์ความรู ้ทางวิทยาศาสตร์ของสัตว์ที่

พบเห็นก่อนเกิดดินโคลนถล่มจากการตรวจเอกสารงาน

วิจัยที่เกี่ยวข้อง จากนั้นยืนยันความถูกต้องขององค์ความรู้

โดยการสัมภาษณ์ผู ้ เชี่ยวชาญทางวิชาการด้านสัตว์ที่

พบเห็นก่อนเกิดดินโคลนถล่ม แล้วสังเคราะห์พฤติกรรม

ของสัตว ์ที่ เกิดขึ้นก ่อนเกิดเหตุการณ์ดินโคลนถล่ม

สามารถสรุปเป็นพฤติกรรมสัตว์ที่บอกนัยการเกิดดิน

โคลนถล่มได้ดังนี้

1. การปรากฏกบ เขียด อึ่งจ�านวนมากผิดปกต ิ

การพบเห็นพฤติกรรมของสัตว์ดังกล่าวมีความเป็นไปได้ที่

จะบอกนัยการเกิดดินโคลนถล่ม เพราะพฤติกรรมของ

สัตว์เหล่านั้นได้รับอิทธิพลจากความชื้นสัมพัทธ์และ

ปริมาณน�้าฝน เนื่องจากวันก่อนเกิดดินโคลนถล่มนั้นมี

ปริมาณน�้าฝนมากและท�าให้มีความช้ืนในอากาศสูง ถึงแม้

จะเป็นช่วงเวลากลางวัน เม่ืออากาศมีความช้ืนสูงและ

ปริมาณน�้าฝนมาก ผิวหนังของสัตว์ดังกล่าวสามารถ

ซึมซาบน�้าได้จึงไม่จ�าเป็นต้องอาศัยอยู่ใกล้กับแหล่งน�้า

และเคลื่อนย้ายไปยังพื้นที่ต่างๆ ได้เป็นบริเวณกว้างมาก

ขึ้น ในทิศทางที่มันต้องการเพื่อหาอาหารและผสมพันธุ์

2. การปรากฏของงูสายรุ้งจ�านวนมากบนถนน

การพบเห็นพฤติกรรมของงูสายรุ้งมีความเป็นไปได้ที่จะ

บอกนัยการเกิดดินโคลนถล่ม ซ่ึงช่วงเวลาดังกล่าวปริมาณ

น�้าในล�าน�้าได้เพิ่มระดับมากและไหลแรง บนภูเขามีการ

ถล่มของดินบ้างแล้ว (มีเสียงดังอื้ออึง) ส่งผลให้เกิดแรงสั่น

สะเทือนและงูสามารถรับรู ้แรงสั่นสะเทือนที่ เกิดขึ้น

เนื่องจากงูมีอวัยวะรับรู้ได้จากผิวหนังและหู ประกอบกับ

เป็นช่วงหาอาหารและมีสัตว์ที่เป็นอาหารจ�านวนมากออก

มา จึงพบจ�านวนสัตว์ปรากฏให้พบเห็นมากขึ้น เพราะโดย

ปกติงูสายรุ้งอาศัยอยู่ในล�าน�้าหรือริมล�าน�้า หาอาหารใน

ล�าน�้าเป็นหลัก

3. การปรากฏของตะขาบจ�านวนมากผิดปกติ

การพบเห็นพฤติกรรมของตะขาบมีความเป็นไปได้ที่จะ

บอกนัยการเกิดดินโคลนถล่ม ซ่ึงช่วงเวลาดังกล่าวปริมาณ

น�้าในล�าน�้าได้เพิ่มระดับมากและไหลแรง บนภูเขามีการ

ถล่มของดิน (มีเสียงดังอื้ออึง) ส่งผลให้ตะขาบที่อาศัยอยู่

ในรูได ้รับรู ้แรงสั่นสะเทือนที่ เกิดขึ้น จึงวิ่ งสับสน

กระจัดกระจายเต็มถนน เพราะตะขาบมีอวัยวะรับรู้แรง

สะเทือนอยู่บนคิวติเคิลที่ข้อต่อ ประกอบกับเป็นช่วงหา

อาหารและมีสัตว์ที่เป็นอาหารจ�านวนมากออกมา ได้แก่

กบ เขียด อึ่ง งู เป็นต้น ส�าหรับการพบเห็นในเวลากลางวัน

เพราะในช่วงระยะเวลาดังกล่าวอากาศมีความชื้นสัมพัทธ์

สูงและปริมาณน�้าฝนมาก ท�าให้ผิวหนังของสัตว์ได้รับ

ความชุ่มชื้น ตัวไม่แห้ง จึงไม่ต้องหลบซ่อนในที่ชื้นหรือรู

ในดิน

4. การเดินขึ้นที่สูงห่างจากล�าธารของปูน�้าจืดใน

เวลากลางวัน การพบเห็นพฤติกรรมของปูน�้าจืดมีความ

Page 8: กระบวนการถอดรหัสพฤติกรรม ...Kasetsart Journal of social sciences 37 (2016) 269 แวดล อมท ม อย ในต วชาวบ

274 K a s e t s a r t J o u r n a l o f s o c i a l s c i e n c e s 3 7 ( 2 0 1 6 )

เป็นไปได้ที่จะบอกนัยการเกิดดินโคลนถล่ม เน่ืองจากใน

ช่วงเวลาดังกล่าวความชื้นสัมพัทธ์มีค ่าสูงมาก โดย

พฤติกรรมของปูมีความสัมพันธ์กับความชื้นในอากาศ

และปริมาณน�้าฝน เพราะปูสามารถใช้ความชื้นในอากาศ

และน�้าฝนส�าหรับการแลกเปลี่ยนก๊าซโดยไม่ต้องอาศัย

ความชื้นจากล�าน�้าหรือความชื้นในดิน จึงสามารถออกหา

อาหารในเวลากลางวันและเดินห่างจากล�าน�้าได้ในทิศทาง

ที่มันต้องการ

5. การอพยพรังขึ้นที่สูงของปลวกทั้งกลางวัน

และกลางคืนในช่วง 2–3 วัน การพบเห็นพฤติกรรมของ

ปลวกเป็นไปได้ที่บอกนัยการเกิดดินโคลนถล่ม เนื่องจาก

ในช่วงเวลาดังกล่าวความชื้นสัมพัทธ์และปริมาณน�้าฝนมี

ค ่าสูง ระดับน�้าใต ้ดินเพิ่มข้ึนส่งผลให้ปลวกเปลี่ยน

พฤติกรรม และสภาพอากาศก่อนเกิดฝนตกมีความชื้นสูง

อุ ณ ห ภู มิ สู ง ซ่ึ ง อุ ณ ห ภู มิ ที่ สู ง ข้ึ น ไ ป ส ่ ง ผ ล ท� า ใ ห ้

ความชื้นสัมพัทธ์ภายในรังปลวกเข้าสู่จุดอ่ิมตัว ท�าให้

ปลวกสูญเสียน�้าเนื่องจากการระเหยของน�า้จากตัวปลวก

6. การปรากฏของไก่ป่าจ�านวนมากในหมู่บ้าน

การพบเห็นพฤติกรรมของไก่ป่ามีความเป็นไปได้ท่ีบอก

นัยการเกิดดินโคลนถล่ม ซ่ึงช่วงเวลาดังกล่าวอากาศมี

ความชื้นสัมพัทธ์สูงและปริมาณน�้าฝนมาก ปริมาณน�้าใน

ล�าน�้าได้เพิ่มระดับมากและไหลแรง ส่งผลให้มด ปลวก

อพยพขึ้นที่สูง เมื่อปลวก มด หนีน�้าขึ้นที่สูงเลยท�าให้ไก่ป่า

ตามเหยื่อพวกนี้ขึ้นไปด้วย

จากการวิจัยแสดงให้เห็นว่า องค์ความรู้ในตัวชาว

บ้านซึ่งเกิดขึ้นจากการบอกเล่าของบรรพบุรุษ ตลอดจน

รู้จักธรรมชาติในพื้นที่เป็นอย่างดีโดยการสังเกตสภาพ

แวดล้อมจนมีประสบการณ์และความรู้ เม่ือชาวบ้านเห็น

พฤติกรรมของสัตว์ที่ไม่เป็นไปตามปกติก็สามารถถอด

แปลความได้ว่าสัตว์มีสัญชาตญาณรับรู้ความเปลี่ยนแปลง

ของสิ่งแวดล้อมก่อนเกิดดินโคลนถล่ม ซ่ึงพบว่ามีความ

สอดคล้องกับองค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ ได้แก่ ลักษณะ

ทางชีววิทยาและนิเวศวิทยาของสัตว ์ สามารถน�ามา

สังเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมของสัตว์ กับ

เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นก่อนดินโคลน น�าไปสู่การบ่งบอกนัย

การเกิดดินโคลนถล่ม ผู้วิจัยสรุปกระบวนการถอดรหัส

พฤติกรรมสัตว์ที่บอกนัยการเกิดดินโคลนถล่มในภาพที่ 1

การอภิปรายผล

กระบวนการถอดรหัสพฤติกรรมสัตว์ ผู้พบเห็น

พฤติกรรมสัตว ์ คือผู ้ที่ เห็นพฤติกรรมสัตว ์ก ่อนเกิด

เหตุการณ์ดินโคลนถล่ม มีภูมิล�าเนาอยู่ในพื้นที่ และเป็นผู้

ที่กล้าแสดงความคิดเห็นและมีความจ�าดี สามารถบอกเล่า

รายละเอียดที่เกิดขึ้นได้เพราะเป็นเหตุการณ์ที่ติดตรึงใน

หัวใจ มีความกลัวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น แล้วมองเห็นผลดี

ที่จะเกิดขึ้นจากงานวิจัยที่จะน�าไปใช้ในการเตือนภัยใน

พื้นที่ได ้ เพราะประชาชนในพื้นที่สามารถถอดรหัส

พฤติกรรมของสัตว์ที่เกิดขึ้นได้ ผู้วิจัยสร้างความน่าเชื่อถือ

ในข้อมูลของกลุ่มนี้โดย 1) ให้ผู้รู้พฤติกรรมสัตว์ซึ่งเป็นผู้ที่

สามารถอธิบายความหมายของพฤติกรรมสัตว์เหล่านั้น

เป็นผู้ยืนยันความถูกต้อง โดยผู้รู้พฤติกรรมสัตว์ เป็นผู้ที่ได้

รับความรู้จากปู่ ย่า ตา ยาย และ/หรือคนเฒ่าคนแก่ ตลอด

จนรู้จักธรรมชาติในพื้นที่เป็นอย่างดีโดยการสังเกตสภาพ

แวดล้อมจนมีประสบการณ์และเกิดองค์ความรู้ และ 2)

การศึกษาชีววิทยาและนิเวศวิทยาของสัตว ์ที่ถูกระบุ

พฤติกรรมก่อนเกิดดินโคลนถล่ม โดยการ (1) การตรวจ

เอกสารพฤติกรรมสัตว์ก่อนเกิดดินโคลนถล่ม และ (2) การ

สัมภาษณ์ผู ้ เ ช่ียวชาญเฉพาะด ้านของสัตว ์ที่ถูกระบุ

พฤติกรรมก่อนเกิดดินโคลนถล่ม ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญเฉพาะ

ด้านสัตว์ที่แสดงพฤติกรรมก่อนเกิดดินโคลนถล่ม โดยมุ่ง

ประเด็นยืนยันความถูกต้องและน่าเชื่อถือของข้อมูลที่ได้

มา ซึ่งเป็นวิธีการที่ท�าให้เกิดความเชื่อมั่นในการบ่งบอก

นัยการเกิดดินโคลนถล่ม นอกจากนี้ การศึกษาวิจัย

กระบวนการถอดรหัสพฤติกรรมสัตว์ที่บอกนัยการเกิดดิน

โคลนถล่มในครั้งนี้ การเลือกกลุ่มตัวอย่างได้ใช้วิธีการสุ่ม

แบบต่อเนื่อง โดยก�าหนดคุณสมบัติส�าหรับเป็นเกณฑ์คัด

เลือก ซ่ึงเหมาะสมกับวิธีการศึกษาวิจัยแบบน้ี ท�าให้ได้คน

ที่มีประสิทธิภาพ ข้อมูลที่ได้มีความเชื่อมั่น

Page 9: กระบวนการถอดรหัสพฤติกรรม ...Kasetsart Journal of social sciences 37 (2016) 269 แวดล อมท ม อย ในต วชาวบ

275K a s e t s a r t J o u r n a l o f s o c i a l s c i e n c e s 3 7 ( 2 0 1 6 )

ข้อเสนอแนะ

ข ้อเสนอแนะเพ่ือการพัฒนากระบวนการถอดรหัส

พฤติกรรมสัตว์ที่บอกนัยการเกิดดินโคลนถล่ม

จากผลการศึกษากระบวนการถอดรหัสพฤติกรรม

สัตว์ที่บอกนัยการเกิดดินโคลนถล่ม ผู ้วิจัยได้ประมวล

ข้อคิดเห็นเป็นข้อเสนอแนะเพื่อการใช้ประโยชน์จาก

ข้อมูลที่ได้มาพัฒนากระบวนการถอดรหัสพฤติกรรมสัตว์

ที่บอกนัยการเกิดดินโคลนถล่ม ดังนี้

1. การได้มาซึ่งข้อมูลวิจัยท่ีมีความสมบูรณ์และ

ความถูกต้องระหว่างภาษาท้องถิ่นและภาษากลาง ผู้วิจัยได้

ให้คนในท้องถิ่นที่สามารถพูด อ่าน เขียนภาษากลางได้

เป็นผู้ประสานและอธิบายความหมายของภาษาระหว่างผู้

วิจัยกับผู้ให้ข้อมูลขณะท�าการเก็บรวบรวมข้อมูล และให้

บุคคลดังกล่าวตรวจสอบความถูกต้องของภาษาอีกครั้ง

หลังจากที่ผู ้วิจัยรวบรวมข้อมูลได้ทั้งหมด ดังนั้น การ

ศึกษาวิจัยในลักษณะดังกล่าวแบบนี้ต้องมีบุคคลในท้อง

ถิ่นเป็นผู้ตรวจสอบความถูกต้องของภาษา

2. ควรน�าพฤติกรรมสัตว์ที่บอกนัยการเกิดดิน

โคลนถล่มไปใช้ส�าหรับการเตือนภัย โดยเตือนภัยดิน

โคลนถล่มในรูปแบบต่างๆ เช่น 1) จัดท�าป้ายสื่อความ

หมายเตือนภัยดินโคลนถล่มด้วยพฤติกรรมสัตว์ที่บ่งบอก

นัยการเกิดดินโคลนถล่ม และน�าป้ายสื่อความหมายไปติด

ต้ังในชุมชนเพ่ือการเตือนภัยดินโคลนถล่มในพ้ืนที่ 2) จัด

ท�าคู ่มือสังเกตพฤติกรรมสัตว์ที่บ่งบอกนัยการเกิดดิน

โคลนถล่ม และเผยแพร่ให้กับประชาชนที่อยู่ในพื้นที่เสี่ยง

ภัยดินโคลนถล่ม เพื่อการเตือนภัยและป้องกันความสูญ

เสียที่จะเกิดขึ้น 3) น�าองค์ความรู้พฤติกรรมสัตว์ที่บ่งบอก

นัยการเกิดดินโคลนถล่มที่ได้ไปสร้างหลักสูตรท้องถิ่น

ส�าหรับสอนนักเรียนระดับประถมศึกษาในโรงเรียนใน

ภาพที่ 1 กระบวนการถอดรหัสพฤติกรรมสัตว์ที่บอกนัยการเกิดดินโคลนถล่ม

1. การระบุพฤติกรรมสัตว์ที่พบเห็นก่อนเกิดดินโคลนถล่ม

ค้นหาผู้พบเห็นพฤติกรรมสัตว์ หาพฤติกรรมสัตว์ ผู้รู้พฤติกรรมสัตว์

ค้นหาผู้รู้พฤติกรรมสัตว์สัญลักษณ์

สัมภาษณ์ ตีความ

2. การศึกษาชีววิทยาและนิเวศวิทยาของสัตว์

ที่ถูกระบุพฤติกรรมก่อนเกิดดินโคลนถล่ม

ตรวจเอกสาร

พฤติกรรมสัตว์พฤติกรรมสัตว์

สัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ

วิชาการด้านสัตว์

3. การสังเคราะห์พฤติกรรมสัตว์ที่ถูกระบุกับ

ลักษณะทางชีววิทยาและนิเวศวิทยาของสัตว์

สังเคราะห์พฤติกรรมสัตว์

พฤติกรรมสัตว์ที่บอกนัยการเกิด

ดินโคลนถล่ม

ผู้พบเห็นพฤติกรรมสัตว์1.1 1.2

1.3

2.1 2.2

Page 10: กระบวนการถอดรหัสพฤติกรรม ...Kasetsart Journal of social sciences 37 (2016) 269 แวดล อมท ม อย ในต วชาวบ

276 K a s e t s a r t J o u r n a l o f s o c i a l s c i e n c e s 3 7 ( 2 0 1 6 )

พื้นที่เสี่ยงภัย และ 4) สร้างเครือข่ายชุมชนเรื่องการเตือน

ภัยดินโคลนถล่มโดยใช้พฤติกรรมสัตว์ที่บ่งบอกนัยการ

เกิดดินโคลนถล่มในพื้นที่เสี่ยงภัยพื้นที่อื่น

3. ผู ้ที่จะสื่อสารพฤติกรรมสัตว์ในการเตือนภัย

ดินโคลนถล่มให้กับประชาชนในชุมชนได้รับรู้ คือ ผู้รู ้

พฤติกรรมสัตว์ เพราะผู้รู ้พฤติกรรมสัตว์ท่ีผู ้วิจัยเข้าไป

สัมภาษณ์เป็นผู้สูงอายุซึ่งอาศัยในชุมชน ชาวบ้านให้ความ

เคารพนับถือ ดังนั้น ควรให้ผู้รู้พฤติกรรมสัตว์เป็นผู้บอก

กล่าวองค์ความรู้การเตือนภัยแก่ชาวบ้าน ซึ่งอาจจะมีหลาย

รูปแบบ เช่น สร้างป็นนิทานพ้ืนบ้าน บรรยายด้วยค�าผญา

ส�าเนียงเหนือ เป็นต้น

4. การศึกษากระบวนการถอดรหัสพฤติกรรม

สัตว์ที่บอกนัยการเกิดดินโคลนถล่มในครั้งนี้ พบผู ้รู ้

พฤติกรรมสัตว์จ�านวน 7 คนใน 2 จังหวัด โดยจังหวัดแพร่

พบที่อ�าเภอวังชิ้น ส่วนจังหวัดอุตรดิตถ์พบที่อ�าเภอลับแล

และท่าปลา ซึ่ง ผู้รู้พฤติกรรมสัตว์ คือ ผู้ท่ียืนยันความถูก

ต้องของผู้พบเห็นพฤติกรรมสัตว์ ดังนั้น ควรสร้างเครือ

ข่ายผู้รู้พฤติกรรมสัตว์ให้มีครบทุกหมู่บ้าน ทุกต�าบลเพื่อ

ประสิทธิภาพในการสื่อสารการเตือนภัยให้แก่ชาวบ้าน

5. การน�าพฤติกรรมสัตว์ที่บอกนัยการเกิดดิน

โคลนถล่มไปใช้ส�าหรับการเตือนภัยน้ัน ควรใช้อย่าง

ระมัดระวัง เพราะในการศึกษาวิจัยได้ศึกษาโครงสร้างสิ่ง

แวดล้อมของพื้นที่ประกอบด้วย ลักษณะภูมิประเทศ

(ระดับความสูงและความลาดชัน) ลักษณะทางธรณีวิทยา

ลักษณะของดิน ลักษณะภูมิอากาศ (ปริมาณน�้าฝน) และ

การใช้ประโยชน์ที่ดิน ซ่ึงแต่ละพ้ืนท่ีมีลักษณะจ�าเพาะที่

แตกต ่างกันส ่งผลให ้มีความแตกต ่างของชนิดและ

พฤติกรรมสัตว์

ข้อเสนอแนะเพื่อการวิจัยในครั้งต่อไป

จากการศึกษาด้วยการด�าเนินการวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้

วิจัยขอเสนอแนะแนวทางการศึกษาต่อไป โดยใช้ผลการ

วิจัยนี้เป็นฐานคิด ดังนี้

1. การศึกษาวิจัยครั้งนี้ศึกษาเพียงพฤติกรรมของ

สัตว์ที่พบเห็นก่อนเกิดเหตุการณ์ดินโคลนถล่ม แต่ควร

ท�าการวิจัยการถอดรหัสเก่ียวกับสภาพแวดล้อมต่างๆ เช่น

ระดับน�้าใต้ดิน สีของน�้าในล�าน�้า กลิ่นดินโคลน เป็นต้น ที่

พบเห็นก ่อนเกิดเหตุการณ์ดินโคลนถล ่มด ้วย เพื่อ

ประสิทธิภาพในการน�าไปใช้เตือนภัยดินโคลนถล่มใน

พื้นที่เสี่ยงภัย

2. สัตว์ที่พบเห็นก่อนเกิดดินโคลนถล่มจากการ

วิจัยครั้งนี้ ได้แก่ กบ เขียด อึ่ง งูสายรุ้ง ตะขาบ ปลวก ปูน�้า

จืด และไก่ป่า ควรได้มีการศึกษาถึงพฤติกรรมของสัตว์

ตามหลักการทางสาขาวิชาโดยเฉพาะเพื่อการเชื่อมโยง

พฤติกรรมของสัตว์กับเหตุการณ์ดินโคลนถล่ม

3. ผลการวจิยัได้กระบวนการถอดรหสัพฤตกิรรม

สัตว์ที่บอกนัยการเกิดดินโคลนถล่ม ดังนั้น ควรใช้

กระบวนการถอดรหัสดังกล่าวน้ี ไปถอดรหัสองค์ความรู้

เกี่ยวกับเหตุการณ์ภัยพิบัติอื่นๆ เช่น น�้าท่วม ไฟป่า เป็นต้น

เพือ่ยนืยนัประสทิธภิาพของกระบวนการถอดรหสัดงักล่าว

4. การศกึษาวจิยักระบวนการถอดรหสัพฤตกิรรม

สัตว์ที่บอกนัยการเกิดดินโคลนถล่มในครั้งนี้ เป็นการ

ศึกษาโดยสอบถามจากผู้พบเห็นพฤติกรรมสัตว์และอยู่ใน

เหตุการณ์ดินโคลนถล่ม แล้วมาอธิบายแปลความด้วยองค์

ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งยังไม่ได้ศึกษาด้วยกระบวนการ

ทางวิทยาศาสตร์อย่างแท้จริง ดังนั้น เพื่อให้ได้ข้อสรุปทาง

วิทยาศาสตร์ควรวางแผนทดลองเพื่อทดสอบพฤติกรรม

สัตว์เตือนภัยดินโคลนถล่มในพื้นที่เสี่ยงภัยอื่นที่ยังไม่เคย

เกิดดินโคลนถล่ม เช่น โดยการเฝ้าสังเกตพฤติกรรมสัตว์

เมื่อมีปัจจัยกระตุ้นการเกิดดินโคลนถล่ม บันทึกพฤติกรรม

สัตว์และจ�านวนครั้งที่พบเห็น แล้วจึงสรุปเป็นข้อสรุปใน

ระดับความเชื่อมั่น

5. การศกึษาวจิยักระบวนการถอดรหสัพฤตกิรรม

สัตว์ที่บอกนัยการเกิดดินโคลนถล่มในครั้งนี้ ในขั้นตอน

การระบุพฤติกรรมสัตว์ที่พบเห็นก่อนเกิดดินโคลนถล่ม ผู้

ที่ยืนยันความถูกต้องของผู้พบเห็นพฤติกรรมสัตว์ คือ ผู้รู้

พฤติกรรมสัตว์ ซ่ึงเป็นบุคคลที่มีประสบการณ์และได้รับ

ความรู้เก่ียวกับพฤติกรรมสัตว์และปรากการณ์ธรรมชาติ

จากบรรพบุรุษ ดังนั้น ควรมีการศึกษาการถ่ายทอด

ภูมิปัญญาเก่ียวกับพฤติกรรมสัตว์เพ่ือการเตือนภัยดิน

โคลนถล่ม เพื่อให้ภูมิปัญญาดังกล่าวยังคงมีอยู่สืบไปชั่ว

ลูกชั่วหลาน

Page 11: กระบวนการถอดรหัสพฤติกรรม ...Kasetsart Journal of social sciences 37 (2016) 269 แวดล อมท ม อย ในต วชาวบ

277K a s e t s a r t J o u r n a l o f s o c i a l s c i e n c e s 3 7 ( 2 0 1 6 )

เอกสารอ้างอิง

กนกพันธุ์ ผรณเกียรติ์. (2546). ภูมิปัญญำนิเวศท้องถิ่นของ

ชำวป่ำเมี่ยงเกี่ยวกับระบบนิเวศลุ่มน�้ำภูเขำกรณีศึกษำ

บ้ำนปำงมะโอ อ�ำเภอเชียงดำว จังหวัดเชียงใหม่

(วิทยานิพนธ์ปริญญาโท). มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์,

กรุงเทพฯ.

จารุณี วงศ์ข้าหลวง และ ยุพาพร สรนุวัตร. (2547). ควำมรู้

ทั่วไปเกี่ยวกับปลวกและกำรป้องกันก�ำจัด (พิมพ์ครั้งที่

2). กรุงเทพฯ: กรมป่าไม้.

ณิศ กีร์ติบุตร. (2536). ควำมรู้เกี่ยวกับปลวก. นครปฐม:

สถาบนัวจิยัและพฒันาแห่งมหาวทิยาลยัเกษตรศาสตร์.

ทินกร ทาทอง. (2551). กำรศึกษำเหตุกำรณ์ดินถล่มและ

น�้ ำป ่ำไหลหลำกเพื่อกำรเฝ ้ำระวังแจ ้ง เตือนภัย .

กรุงเทพฯ: กองธรณีวิทยาสิ่งแวดล้อม.

บพิธ จารุพันธุ์ และ นันทพร จารุพันธุ์. (2546). สัตว์ไม่มี

กระดูกสันหลัง. กรุงเทพฯ: ส�านักพิมพ์มหาวิทยาลัย

เกษตรศาสตร์.

ประกิต มณีวัฒนเศรษฐ์. (2546). ภูมิปัญญำนิเวศเก่ียวกับ

กำรจัดกำรลุ ่มน�้ำของชำวถ่ิน บ้ำนห้วยทรำยขำว

จังหวัดน่ำน (วิทยานิพนธ์ปริญญาโท). มหาวิทยาลัย

เกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.

พรชัย ปรีชาปัญญา และ วารินทร์ จิระสุขทวีกุล. (2546).

ภูมิปัญญำชำวป่ำเมี่ยง (ชำ) เกี่ยวกับควำมยั่งยืนของ

ระบบนิเวศลุ่มน�้ำภำคเหนือ ประเทศไทย. เชียงใหม่:

สถานีวิจัยลุ่มน�า้ดอยเชียงดาว.

พรพรรณ แซ่หลิ่ม. (2544). ภูมิปัญญำพ้ืนบ้ำนปกำเกอยอ

เกี่ยวกับกำรจัดกำรลุ่มน�้ำ: กรณีศึกษำบ้ำนแม่แฮใต้ หมู่

9 ต�ำบลปำงหินฝน อ�ำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม ่

(วิทยานิพนธ์ปริญญาโท). มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์,

กรุงเทพฯ.

วีรยุทธ์ เลาหะจินดา. (2552). วิทยำสัตว์เลื้อยคลำนและ

สัตว์สะเทินน�้ำสะเทินบก. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัย

เกษตรศาสตร์.

ยุพาพร สรนุวัตร และ จารุณี วงศ์ข้าหลวง. (2546). ปลวก

และบทบำทในระบบนิเวศ. กรุงเทพฯ: อักษรสยาม

การพิมพ์.

ยุพาพร สรนุวัตร และ จารุณี วงศ์ข้าหลวง. (2547). คู่มือ

กำรจ�ำแนกปลวกในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: อักษร

สยามการพิมพ์.

เสริมศักดิ์ นันทิทรรภ และ ถมรัตน์ นันทิทรรภ. (2546).

ชีววิทยาของปูก�่า ในเขตอ�าเภอสูงเม่น จังหวัดแพร่. ใน

รำยงำนกำรวิจัยในโครงกำร BRT 2546 (หน้า 214–

217). กรุงเทพฯ: ห้างหุ ้นส่วนจ�ากัด โรงพิมพ์ชวน

พิมพ์.

สุพจน์ หลี่จา. (2548). ภูมิปัญญำของลำหู่ในกำรจัดกำร

ทรัพยำกรธรรมชำติ กรณีศึกษำชุมชนบ้ำนแสนเจริญ

ใหม่ ต�ำบลป่ำตึง อ�ำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงรำย

( วิ ท ย า นิ พ น ธ ์ ป ริ ญ ญ า โ ท ) . ส ถ า บั น บั ณ ฑิ ต

พัฒนบริหารศาสตร์, กรุงเทพฯ.

สุทธิพงศ์ อาศิรพจน์. (2551). สัณฐำนวิทยำ กำรขัน และ

กำรใช้พ้ืนที่ของไก่ป่ำตุ้มหูแดงในสถำนีเพำะเลี้ยงสัตว์

ป่ำห้วยขำแข้ง จังหวัดอุทัยธำนี (วิทยานิพนธ์ปริญญา

โท). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.

อวบ สารถ้อย จรัล เห็นพิทักษ์ และ ณิศ กีร์ติบุตร. (2543).

ปลวกและปลวกเห็ดในระบบนิเวศที่ควรอนุรักษ์.

วำรสำร ส.ก.ว., 7(3), 7–32.Browning, D. G., Scheifele, P. M., & Vonwinkle, W. A.

(2005). Physics of the environment: Possible Sumatra Tsunami warning times for large animals in Sri Lanka. Retrieved from http://adsabs.harvard.edu/abs/2005APS..NES..G003B

Ng, P. K. L. (1988). The freshwater crabs of Peninsular Malaysia and Singapore. Singapore: Shinglee Press.

Howse, P. E. (1960). Termites: A study in social behavior. London, UK: Hutchinson & Co (Publishers) Ltd.

Translated Thai References

Asrirapong, S. (2008). Morphology, calling and habitat utilization of the Red Junglefowl Gallus gallus spadiceus in Huai Kha Kaeng Wildlife Breeding Station, Uthai Thani province (Unpublished master’s thesis). Chulalongkorn University, Bangkok. [in Thai]

Jarupan, B., & Jarupan, N. (2003). Invertebrate zoology. Bangkok, Thailand: Kasetsart University Press. [in Thai]

Page 12: กระบวนการถอดรหัสพฤติกรรม ...Kasetsart Journal of social sciences 37 (2016) 269 แวดล อมท ม อย ในต วชาวบ

278 K a s e t s a r t J o u r n a l o f s o c i a l s c i e n c e s 3 7 ( 2 0 1 6 )

Kirtibutr, N. (1993). A study of termites. Nakhon Pathom, Thailand: Kasetsart University Research and Development Institute. [in Thai]

Laohajinda, V. (2009). Herpetology. Bangkok, Thailand: Kasetsart University Press. [in Thai]

Leeja, S. (2005). The Lahu’s wisdom on forestry resource management: A case study of Saen Jalean Mai Village Patueng Tambon Maechan District Chaing Rai Provinc (Unpublished master’s thesis). National Institute of Development Administration, Bangkok. [in Thai]

Nantipak, S., & Nantipak, T. (2003). Biology of Thaipotamon sp. in Amphoe Soongmen, Phrae province. In BRT research reports 2003 (p. 214–217). Bangkok, Thailand: Chuan-pim Co (Publishers) Ltd. [in Thai]

Salim, P. (2003). Karen’s folk knowledge on watershed management: A case study of Ban Mae Hair Tai, Moo 9 Tumbon Pang Hin Fon, Amphoe Mae Jeam, Changwat Chiang Mai (Unpublished master’s thesis). Kasetsart University, Bangkok. [in Thai]

Paranakian, K. (2003). Local ecological knowledge of tea people on mountainous watershed ecosystems: A case study of Ban Pang Ma-O, Amphoe Chiang Dao, Changwat Chiang Mai (Unpublished master’s thesis). Kasetsart University, Bangkok. [in Thai]

Preechapanya, P., & Jirasuktaweekul, W. (2003). Jungle tea farmers’ knowledge on the sustainability of watershed ecosystems in the North of Thailand. Chiang Mai, Thailand: Doi Chiang Dao Watershed Research Station.

Maneewattanaset, P. (2003). Local ecological knowledge in watershed management of Tin, a Hill Tribe in Huai Sai Khao Village, Huaikon Subdistrict, Chalemprakiet District, Nan Province (Unpublished master’s thesis). Kasetsart University, Bangkok. [in Thai]

Sarnthoy, O., Henpitak, J., & Kirtibutr, N. (2000). Termites and termite mushroom that should be conserved in ecosystem. Area Based Development Research Journal, 7(3), 7–32. [in Thai]

Sornuwat, Y., & Wongkhaluang, J. (2003). Termites and structure in ecosystem. Bangkok, Thailand: Aksorn Siam Publishing. [in Thai]

Sornuwat, Y., & Wongkhaluang, J. (2004). Manual of termite classification in Thailand. Bangkok, Thailand: Aksorn Siam Publishing. [in Thai]

Thathong, T. (2008). A study landslides and flash flood events for warning times. Bangkok, Thailand: Environmental Geology Division. [in Thai]

Wongkhaluang, J., & Sornuwat, Y. (2004). An introduction to the study of termite and insect control (2 nd ed.). Bangkok, Thailand: Royal Forest Department. [in Thai]


Recommended