+ All Categories
Home > Documents > gothicg53.files.wordpress.com€¦  · Web view2013. 10. 8. · 3.GIF(Graphics Interchange Format)...

gothicg53.files.wordpress.com€¦  · Web view2013. 10. 8. · 3.GIF(Graphics Interchange Format)...

Date post: 19-Feb-2021
Category:
Upload: others
View: 1 times
Download: 0 times
Share this document with a friend
26
คคคคคคคคคคคคคคคคคคคคคคคคคคคคค คคคคคคคค คคคคคคคคคคคคคคคคค คคคค คคคคคคคคคคค คคคคคค คคคคคคคคคคคค 564070120519 คคคคคคคคคคคคค คคคคคคคคค คคคคคคคค คคคคคคคคค คคคคคค คคคคคคคคคคคคคคคคคคคคคคคคค คคคคคคคคคคคค คคคค คคคคคคคคคคคคคคคคคคคคคคค คคคคคคคคคคคคคค (30702213) คคคคคค คคคคคคค คคคคคคค คคคคคคคค
Transcript

คณะวิทยาการจัดการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยนครพนมชื่อ นางสาวนฤนาท โมคมูลรหัสนักศึกษา 564070120519ระดับการศึกษา ปริญญาตรีหลักสูตร การจัดการ

เรื่อง ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับอินเตอร์เน็ตวิชา คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศธุรกิจ (30702213)สอนโดยอาจารย์ สุพรรณี เขียวไกร

อาจารย์ที่ปรึกษาอาจารย์ กรรณิกา สิงห์ศรี

คำนำ

เนื่องจากในสังคมปัจจุบันเทคโนโลยีได้มีบทบาทต่อสังคมเป็นอย่างสูงทั้งด้านการเรียนรู้,การบันเทิงหรือแม้กระทั่งเรื่องความสะดวกสบายในการสร้างสรรค์งานต่างๆที่จำเป็นอย่างมากต่อการดำรงชีวิตของคนในปัจจุบันซึ่งรายงานชุดนี้ทางคณะผู้จัดทำได้จัดทำขึ้นโดยมีจุดประสงค์อยากให้ผู้อ่านได้รับรู้และเรียนรู้เกี่ยวกับเรื่องความรู้ที่เกี่ยวกับกราฟิกในชีวิตประจำวันไม่ว่าจะในด้านการใช้งานหรือวัตถุประสงค์ในการใช้งาน โดยคณะผู้จัดทำหวังเป็นอย่างยิ่งว่าผู้อ่านจะสามารถนำความรู้ที่ได้ไปใช้ชีวิตประจำวันหรือในหน้าที่การงานไม่มากก็น้อย

หากรายงานชุดนี้มีบกพร่องประการใดก็ขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วย

สารบัญ

· ประวัติความเป็นมาของคอมพิวเตอร์กราฟิก………………………………………….1

· บทบาทและความสำคัญของคอมพิวเตอร์กราฟิก…………………………………..2

· ความสำคัญของคอมพิวเตอร์กราฟิก…………………………………………………….3

· ความหมายของคอมพิวเตอร์กราฟิก…………………………………………………….4

· หลักการทำงานและการแสดงผล…………………………………………………………5

· สีและแสงที่ใช้ในงานกราฟิก……………………………………………………………….6

· ชนิดและรูปแบบไฟล์กราฟิก………………………………………………………………7

· การประยุกต์ใช้งานกราฟิก………………………………………………………………..9

1. ประวัติความเป็นมาของคอมพิวเตอร์กราฟิก

เมื่อมนุษย์เริ่มรู้จักการขีดเขียน ขูด จารึกเป็นร่องรอย ให้ปรากฏเป็นหลักฐานในปัจจุบัน การออกแบบกราฟิกสมัยก่อนประวัติศาสตร์ จึงเป็นการเริ่มต้นการสื่อความหมายด้วยการวาดเขียน ให้ผู้อ่านตีความหมายได้ เรียกว่า  “ Pictogram ”

จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ พบว่า เมื่อล้านปีมาแล้วมนุษย์โฮโมอีเร็คทุส ( Homo Erectus ) ได้ใช้ท่าทางและสิ่งของตามธรรมชาติ ในการสื่อความหมายต่อกัน 

  เมื่อประมาณแสนปีมาแล้ว   เผ่าพันธุ์ของมนุษย์ในยุคปัจจุบัน หรือที่เรียกว่า  โฮโมซาเปี้ยน (Homo Sapiens) ได้ใช้สีตามธรรมชาติเขียนลายเส้นบนหน้าตาและร่างกาย  ภาพเหล่านี้ช่วยให้การสื่อความหมายง่ายและรวดเร็วขึ้น ซึ่งถือเป็นพื้นฐานในการวิวัฒนาการ มาเป็นภาษาพุดและภาษาเขียนในสมัยต่อมา  

ภาพบนผนังถ้ำ   ลายเส้นตามหน้าตาและร่างกาย   ลายเส้นบนเครื่องมือ  เป็นสิ่งที่ภาษาในปัจจุบันเรียกว่า  งานกราฟิก (Graphic)  จะเห็นได้ว่า งานกราฟิกเป็นภาพและสัญลักษณ์ต่าง ๆ ที่ช่วยให้มนุษย์สื่อความหมายและถ่ายทอดประสบการณ์ได้อย่างรวด เร็วและมีประสิทธิภาพ   ดังนั้น งานกราฟิกจึงเป็นเครื่องมือคู่กับสังคมมนุษย์ตลอดมาตั้งแต่สมัยดึกดำบรรพ์

 2. บทบาทและความสำคัญของคอมพิวเตอร์กราฟิก

งานกราฟิกสามารถสื่อความหมายระหว่างผู้ออกแบบกับผู้ชมได้โดยตรงเนื่องจากใช้ ภาพเป็นหลักในการสื่อสาร ทำให้เข้าใจได้ง่าย ถ้าผู้ออกแบบใส่จินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ งานกราฟิกชิ้นนั้นก็จะยิ่งมีความน่าสนใจ และมีคุณค่าทางด้านศิลปะอีกด้วย แต่ถ้าภาพที่ใช้สื่อความหมายไม่ชัดเจน ผู้รับก็ไม่สามารถเข้าใจได้อย่างถูกต้อง

บทบาท และ ความสำคัญของกราฟฟิก

               1. การประชาสัมพันธ์ ถือได้ว่างานกราฟิกนี้เป็นงานที่ควบคู่ไปกับงานบริหาร เพราะเนื้อหาของ การประชาสัมพันธ์ที่ออกไปนั้น หากไมดูดความสนใจที่ดีแล้วย่อมไม่สามารถที่จะสื่อความหมายกันระหว่าผู้ชมกับฝ่ายองค์กรได้  

2. งานโทรทัศน์ กราฟิกจะเกี่ยวข้องในส่วนที่เป็นหัวเรื่อง(title)สไลด์ ฯลฯ งานจัดฉากละคร  เช่น การจัดฉากในรูปแบบต่าง ๆ การออกแบบตัวหนังสือ            

3. นิยมใช้ในงานหนังสือพิมพ์ เพราะทำให้ผู้อ่านเข้าใจได้ง่ายมากขึ้น

4. งานออกแบบ หรือแบบร่าง เช่นออกแบบบ้าน         

6. งานพิมพ์หรือทำสำเนา ทำซิลค์สกรีน  การออกแบบหนังสือ เครื่องหมาย สัญลักษณ์ต่าง

3. ความสำคัญของคอมพิวเตอร์กราฟิก

               1. งานกราฟิกทำให้การสื่อสารเข้าใจได้ง่ายเนื่องจากใช้รูปภาพในการสื่อความหมาย จึงทำให้เห็นรายละเอียด เนื้อหาที่ต้องการนำเสนอได้ชัดเจนกว่าการใช้ข้อความ หรือตัวอักษรอธิบายเพียงอย่างเดียว และงานกราฟิกยังทำให้การสื่อความหมายเป็นไปอย่างรวดเร็ว แม้จะสื่อสารกันคนละภาษา หรือมีความแตกต่างกัน ก็สามารถเข้าใจตรงกันได้              2. งานกราฟิกมีความน่าสนใจเนื่องจากมีการใช้ภาพ และสีในการนำเสนอ จึงทำให้งานดูสะดุดตา น่าประทับใจ              3. ส่งเสริมงานด้านศิลปะ งานกราฟิกที่ดึงดูดใจ ต้องใช้ทั้งความคิดสร้างสรรค์และ ความรู้ทางด้านศิลปะ เพื่อที่จะสื่อความหมายและอารมณ์ระหว่าง ผู้ออกแบบและผู้ชม              4. พัฒนาความก้าวหน้าทางธุรกิจ ส่งเสริมการขาย งานกราฟิก ทำให้ผลิตภัณฑ์ มีจุดเด่น และเข้าใจข้อมูลของสินค้าได้เป็นอย่างดี

งานกราฟิกสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในงานด้านต่างๆ ดังตัวอย่างต่อไปนี้

1. การประชาสัมพันธ์ โฆษณา ประกาศต่าง ๆ เช่น แผ่นพับ โปสเตอร์ แผ่นป้ายโฆษณาทั้งขนาดใหญ่และเล็ก                 2. ด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ เช่นฉลากสินค้า หน้าปกหนังสือ นิตยสาร                3. งานด้านโทรทัศน์และภาพยนตร์ เช่นการทำการการ์ตูน การใส่เทคนิคพิเศษให้กับภาพยนตร์                4. ด้านการการศึกษา เช่นทำสื่อการเรียนการสอน ผู้เรียนจะมีความสนใจและเข้าใจในเนื้อหาได้มากยิ่งขึ้น

เราสามารถพบเห็นงานกราฟิกได้มากมายในชีวิตประจำวันของเรา เนื่องจากงานกราฟิกมีประโยชน์ดังที่กล่าวไปแล้ว และยิ่งในปัจจุบัน การสื่อสารข้อมูลไม่จำกัดอยู่เพียงแค่เอกสาร หรือในหน้ากระดาษ สื่อสิ่งพิมพ์เท่านั้น เราสามารถติดต่อสื่อสารกันโดยใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ เนื่องจากมีความสะดวก และรวดเร็ว จึงทำให้เราพบเห็นงานกราฟิก ในสื่ออิเล็กทรอนิกส์ในรูปแบบอื่นๆ ด้วย เช่น หนังสืออิเล็กทรอนิสก์ (e-book) ภาพถ่ายดิจิทัล เว็บไซต์ต่าง ๆ หรือแม้แต่คอมพิวเตอร์ที่เราใช้งานอยู่ในปัจจุบัน เราใช้คอมพิวเตอร์ เพื่อ การพิมพ์งาน เล่นเกมส์ เก็บข้อมูลต่าง ๆ โดยผู้ใช้สั่งงานต่างๆ ผ่านภาพกราฟิก จึงทำให้คอมพิวเตอร์ใช้งานง่าย และแพร่หลายอยู่จนถึงปัจจุบันนี้

4. ความหมายของคอมพิวเตอร์กราฟิก

ความหมายของคอมพิวเตอร์กราฟิก             กราฟิก หมายถึง ศิลปะแขนงหนึ่งซึ่งใช้การสื่อความหมายด้วยเส้น สัญลักษณ์ รูปวาด ภาพถ่าย กราฟแผนภูมิ การ์ตูน ฯลฯ เพื่อให้สามารถสื่อความหมายของข้อมูลได้ถูกต้องตรงตามที่ผู้รับสารต้องการ             คอมพิวเตอร์กราฟิก หมายถึง การสร้าง การตกแต่งแก้ไข หรือการจัดการเกี่ยวกับรูปภาพ โดยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ในการจัดการ เช่น การทำตกแต่งภาพที่เรียกว่า Image Retouching ภาพคนแก่   ให้มีวัยที่เด็กขึ้น การใช้ภาพกราฟิกในการนำเสนอข้อมูลต่าง ๆ

ระบบคอมพิวเตอร์สำหรับงานกราฟิก สามารถแบ่งออกเป็น 2 ส่วนหลักดังนี้

1. ฮาร์ดแวร์ ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ต่อพ่วงต่าง ๆ                 2. ซอฟแวร์ ได้แก่ โปรแกรมที่สั่งงานคอมพิวเตอร์ให้ทำงานกราฟิกตามที่ผู้ใช้ต้องการซึ่งมีทั้งเป็นโปรแกรมสำเร็จรูปทางด้านกราฟิกที่มีใช้เป็นจำนวนมากเช่น อะโดบี โฟโต้ชอฟ(AdobePhotoshop) ไฟร์เวิร์ค(firework) อิลัสเตรเตอร์(Illastrator) โปรแกรมที่เราเขียนขึ้นเองด้วยภาษาคอมพิวเตอร์ เช่น ภาษาซี ภาษาเบซิค เป็นต้น

5. หลักการทำงานและการแสดงผลของภาพกราฟิกหลักการทำงาน

หลักการทำงานของภาพกราฟฟิก คือ ภาพที่เกิดบนจอคอมพิวเตอร์ เกิดจากการทำงานของโหมดสี RGB ซึ่งประกอบด้วย สีแดง สีเขียว และสีน้ำเงิน โดยใช้หลักยิงประจุไฟฟ้าให้เกิดการเปล่งแสงของสีทั้ง 3 สีมาผสมกัน ทำให้เกิดเป็นจุดสีสี่เหลี่ยมเล็กๆ ที่เรียกว่า พิกเซล (Pixel) ซึ่งมาจากคำว่าPicture กับ Element โดยพิกเซลจะมีหลากหลายสี เมื่อนำมาวางต่อกันจะเกิดเป็นรูปภาพ ซึ่งภาพที่ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์มี 2 ประเภท คือ แบบ Rasterกับ Vector

1. การสร้างภาพแบบเวกเตอร์ (Vector)การสร้างภาพภาพแบบเวกเตอร์หรือสโตรก (Stroked display) เป็นการสร้างภาพบนจอภาพแบบเวกเตอร์ โดยการสร้างคำสั่งเพื่อลากเส้นเชื่อมต่อระหว่างจุดต่าง ๆ ตามที่กำหนดไว้ให้เป็นรูปภาพที่ต้องการ ซึ่งข้อมูลที่เก็บอยู่ในไฟล์ภาพเวกเตอร์มีลักษณะเป็นชุดคำสั่ง คล้ายภาษาโปรแกรมหรือสมการทางคณิตศาสตร์ โดยมีคุณสมบัติเพิ่มเติมเพื่อบอกสี ขนาด หรือตำแหน่ง เช่นการสร้างรูปสามเหลี่ยม ก็จะมีองค์ประกอบที่เป็นเส้นลากผ่านจุดต่าง ๆ ทำให้เกิดรูปโครงร่างโดยรอบขึ้นมา พร้อมทั้งสามารถกำหนดสีของพื้นในโครงร่างนั้นได้

2. การสร้างภาพแบบบิตแมป (Raster)

เป็นการสร้างภาพภายในประกอบด้วยจุดภาพเล็ก ๆ เรียกว่าพิกเซล (pixel) การกำหนดตำแหน่งพิกเซลต่าง ๆ บนจอภาพบอกขนาดความกว้างยาวของรูปภาพ เพื่อให้เกิดภาพที่ต้องการ ซึ่งจะทำให้พิกเซลที่กำหนดเกิดการเรืองแสงเป็นรูปภาพ

             โดยระบบการแสดงผลของภาพ เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้จอภาพเป็นอุปกรณ์แสดงผล จะมีระบบการแสดงผลอยู่ 2 โหมดคือเท็กซ์โหมดกับกราฟฟิกส์โหมด

1. เท็กซ์โหมด

เป็นระบบการแสดงผลพื้นฐานของจอภาพ ซึ่งแสดงผลในรูปของตัวอักษรหรือข้อความเท่านั้น ตัวอักษรที่ใช้แสดงจะมีการกำหนดรูปแบบหรือขนาดที่แน่นอนไว้แล้วในส่วนของCharacter Generation ของการ์ดแสดงผล ดังนั้นจึงไม่สามารถแสดงผลที่เป็นรูปภาพต่าง ๆ ได้ ขนาดของการแสดงผลในเท็กซ์โหมด คือ แสดงผลของตัวอักษรมีจำนวน 25 แถว แต่ละแถวสามารถแสดงตัวอักษรได้ 80 ตัว

2. กราฟฟิกส์โหมด

เป็นระบบการแสดงผลแบบรูปภาพ โดยใช้การ์ดแสดงผลในการควบคุมการแสดงรูปภาพให้อยู่ในลักษณะของพิกเซล ซึ่งรูปภาพที่ใช้ในการแสดงผลนี้ จะอยู่ในรูปของตัวอักษร ข้อความหรือรูปภาพโดยการควบคุมตำแหน่งของพิกเซลให้แสดงผลได้ตามที่ต้องการDisplay buffer เป็นตำแหน่งของหน่วยความจำ RAM (Read Access Memory) ขนาด 16 K-byte มีตำแหน่งเริ่มต้นที่&HB800 สามารถติดต่อกับหน่วยความจำได้ 2 วิธี โดยผ่าน CPU และ Graphics control unit ข้อมูลที่เก็บในดิสเพลย์บัฟเฟอร์จะถูกอ่านออกมา และผ่านการตีความหมายพร้อมแสดงผล ข้อแตกต่างเบื้องต้นของเท็กซ์โหมดกับกราฟฟิกส์โหมด คือข้อมูลที่เก็บในดิสเพลย์จะถูกแปลความหมายของข้อมูลแล้ว

6. สีและแสงที่ใช้ในงานกราฟิก              สีในงานคอมพิวเตอร์กราฟิกจะไม่เหมือนกับสีที่เราเห็นโดยทั่วไปความแตกต่างกันตรงนี้เป็นหัวใจสำคัญ ที่ทำให้งานของเราที่ออกแบบไว้ที่เห็นบนจอภาพของคอมพิวเตอร์กับภาพที่เห็นจากการพิมพ์แตกต่างกัน      สำหรับสีในงานคอมพิวเตอร์กราฟิก มีรูปแบบการให้แสงและการสะท้อนแสงซึ่งมี2 วิธีดังที่ได้เรียนในเรื่องระบบของสีนั้น เราพอจะอธิบายถึงระบบสีที่เกิดขึ้นในคอมพิวเตอร์ได้คือ ระบบสีAdditiveและ ระบบสี Subtractive

ปัจจุบันมีซอฟแวร์ที่ทำงานเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์กราฟิกที่ทำงานโดยตรงกับสี CMYK ซึ่งเป็นข้อดีของกราฟิกแบบบิตแมป ในขณะที่โปรแกรมกราฟิกแบบเวกเตอร์มีความสามารถด้านหนึ่งแต่กราฟิกแบบบิตแมปก็มีความสามารถอีกด้านหนึ่ง คือมีการให้ผู้ใช้สามารถทำงานกับสี และควบคุมลักษณะภาพที่จะปรากฏในขณะพิมพ์

งานและการแสดงผลของภาพกราฟฟิก

ภาพที่เกิดบนจอคอมพิวเตอร์ เกิดจากการทำงานของโหมดสี RGB ซึ่งประกอบด้วย สีแดง (Red) สีเขียว (Green) และสีน้ำเงิน (Blue) โดยใช้หลักยิงประจุไฟฟ้าให้เกิดการเปล่งแสงของสีทั้ง 3 สีมาผสมกัน ทำให้เกิดเป็นจุดสีสี่เหลี่ยมเล็กๆ ที่เรียกว่า พิกเซล (Pixel) ซึ่งมาจากคำว่า Picture กับ Element โดยพิกเซลจะมีหลากหลายสี เมื่อนำมาวางต่อกันจะเกิดเป็นรูปภาพ ซึ่งภาพที่ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์มี 2 ประเภท คือ แบบ Raster กับ Vector

7. ชนิดและรูปแบบไฟล์กราฟิก    

1. Pixel (Picture + Element )              หน่วยพื้นฐานของภาพที่เป็นสี่เหลี่ยมเล็กๆที่บรรจุค่าสี(ลองซูมภาพของเราเข้าไป มากๆแล้วเราจะเห็นสี่เหลี่ยมเล็กๆที่แต่ละสี่เหลี่ยมที่เล็กสุดจะเก็บสีไว้ 1 สีครับ

2.Resolution(ความละเอียดของภาพ)                           คือจำนวน Pixel ต่อพื้นที่หนึ่งหน่วย เช่น-จำนวนเม็ดสีต่อตารางนิ้ว pixels  per inch : ppi dot per inch : dpi รูปแบบของภาพ1.ภาพแบบ บิตแมป(Bitmap) หรือ ราสเตอร์(Raster)             คือภาพที่เกิดจากหน่วยภาพเล็กๆมารวมกันจนเป็นภาพใหญ่คล้ายจิ๊กซอร์สามารถดูได้โดยการซูมภาพเข้าไปกล่าวคือภาพเหล่านี้ยิ่งซูม(ขยาย)ยิ่งแตก จนดูไม่รู้เรื่อง เช่นภาพนามสกุล .JPEG, .TIFF,.GIF เป็นต้น2.ภาพแบบเวคเตอร์(Vector)               คือภาพที่เกิดจากเส้นโค้ง, เส้นตรง และคุณสมบัติสีของเส้นนั้นๆที่เกิดจากการคำนวณทางคณิตศาสตร์(ที่เรามองไม่เห็นด้วยตา)กล่าวคือ ที่จุดๆหนึ่งของภาพที่เราซูมเข้าไปมันจะเกิดจากการกำหนดคุณสมบัติไว้ว่าภาพเกิดจากเส้นตรง หรือเส้นโค้งที่เอียงกี่องศา เก็บค่ารหัสสีอะไรไว้ เมื่อเราซูมขยายภาพไม่ว่าจะขนาดเท่าไหร่ก็ตามภาพมันจะไม่แตก(ไม่สูยเสียความละเอียดไป) เพราะการซูมภาพเป็นการคูณจำนวนเท่า ลงไปที่คุณสมบัติภาพนั่นเองดังนั้น ถ้าเราแก้ไขภาพก็คือไปแก้ไขคุณสมบัติทางคณิตศาสตร์ ไม่ว่าจะย่อหรือขยายกี่ครั้งภาพแบบนี้จะยังคมชัดเท่าเดิมภาพVector เหล่านี้ได้แก่           -ภาพ .wmf (Clipart ที่เราไว้ตกแต่งใน Microsoft Officeนั่นเอง)           -ภาพใน Adobe Illustrator, Macromedia Freehand

ชนิดของภาพสำหรับงานกราฟฟิก          1.JPEG(Joint Photograhic's Experts Group)จุดเด่น-สนับสนุนสีได้มากถึง 24 bit-สามารถกำหนดคุณภาพ และตั้งค่าการบีบอัดไฟล์ภาพได้-มีโปรแกรมสนับสนุนการสร้างจำนวนมาก -เรียกดูภาพได้ใน Graphic Browser ทุกตัว

 จุดด้อย-ไม่สามารถทำให้พื้นที่ของภาพเป็นแบบโปร่งใสได้(Transparent/Opacity)-หากกำหนดค่าการบบอัดไว้สูง เมื่อส่งภาพจาก Server(แม่ข่าย)--->Client(ลูกข่าย) จะทำให้การแสดงผลช้าเพราะต้องเสียเวลาในการขยายไฟล์

2.TIFF(Tag Image File Format)                 มักใช้ในงานสิ่งพิมพ์-Desktop publishing, 3D application, Faxing, Medical Imaging Application(ประสบการณ์ตรงของข้าพเจ้าคือ ภาพที่เราทำและตกแต่งในPhotoshop และ Microsoft PowerPoint ไม่ว่าจะเซฟมาเป็นนามสกุลอะไรก็ตาม ตอนส่งเข้าเครื่องพิมพ์ที่โรงพิมพ์ เขาจะแปลงไฟล์และส่งเข้าเครื่องในนามสกุล .TIFF เท่านั้น โดยรูปแบบของTIFF มีหลายประเภทคือ -Grayscale, Color Pallete, RGB full colorจุดเด่น-เป็นรูปแบบที่ทำให้ภาพแบบราสเตอร์หรือบิตแมป สามารถใช้งานร่วมกับ Appication ต่างๆรวมทั้งโปรแกรมจัดการภาพจากScaner จุดด้อย-ไฟล์ภาพขนาดใหญ่ เพราะต้องเก็บรายละเอียดความคมชัดไว้สูง3.GIF(Graphics Interchange Format)จุดเด่น-เป็นที่นิยมมากที่สุดสำหรับภาพที่จะแสดงบน Web/Internet-มีขนาดเล็กมาก-สามารถทำพื้นให้เป็นแบบโปร่งใสได้(Transparent/Opacity)-สามารถทำเป็นภาพเคลื่อนไหวบน WebPage ได้ โดยใช้เครื่องมือช่วยสร้างเช่น JAVA, Flash-มีโปรแกรมสนับสนุนในการสร้างจำนวนมาก-สามารถเรียกดูภาพได้ใน Graphic Browser ทุกตัวจุดด้อย-แสงภาพได้เพียง 256 สีเท่านั้น ไม่เหมาะสำหรับการนำเสนอภาพถ่ายหรืองานที่ต้องการความคมชัดสูง4.PNG(Portable Network Graphics)จุดเด่น-เอาคุณสมบัติของ(JPEG+GIF) มาใช้คือ สีมากกว่า 256สีและโปร่งใสได้(Transparent)-PNG มีการบีบอัดข้อมูลโดยไม่เสียคุณภาพ-ทำให้โปร่งใสได้(Transparency) และยังสามารถควบคุมองศาของความโปร่งใส(Opacity)ได้ด้วย-เก็บบันทึกภาพด้วยสีจริง(True Color) ได้เช่นเดียวกับตารางสี(Pallete) และสีเทา(Grayscale)แบบ GIFจุดด้อย-ไม่สนับสนุนภาพเคลื่อนไหว เพราะไม่สามารถเก็บภาพหลายๆภาพไว้ด้วยกันได้

8. การประยุกต์ใช้งานกราฟิก

  ในปัจจุบันโลกได้วิวัฒนาการไปอย่างรวดเร็ว ซึ่งการใช้งานกราฟิกนั้นสามารถสื่อความหมายได้ ดังนั้นงานกราฟิกนั้น จะช่วยให้มนุษย์สามารถสื่อสารกันได้ เข้าใจกันได้ เกิดจินตนาการร่วมกัน ในการนำสื่อกราฟิกมาใช้งานนั้นไม่ว่าจะเป็นการสื่อสารทางใด ผู้ที่นำเอาสื่อกราฟิกมาใช้ต้องคำนึงถึงเงื่อนไขและปัญหาเหล่านี้ด้วย คือ เพื่อนำมาใช้ในการขบคิด เพื่อแก้ปัญหา จัดระบบข้อมูล และการนำเอาศิลปะมาใช้ให้เกิดประโยชน์ในการสื่อสารมากที่สุด นอกจากนี้งานกราฟิกนั้นยังสามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้ในด้านต่างๆอีกมากมาย เช่น ใช้ในการเป็นสื่อในการเรียน ใช้เพื่อโน้มน้าวจิตใจในการโฆษณา ใช้ในการจัดนิทรรศการต่างๆ หรือใช้ในการจัดแสดงงาน โดยจะต้องทำความเข้าใจในส่วนประกอบดังนี้        1. DWG (DRAWING) ภาพ - 2D (ภาพ 2 มิติ)             มาตรฐานการ สื่อของ Drawing              การมอง Top, Front, Side Views แต่ละมาตรฐาน              Auxiliary Viwes (มุมมองในส่วนที่สำคัญของ DWG โดยทำมุม 900 กับสายตา )              3D (ภาพ 3 มิติ)        2. MODELING COMMAND              Wire Frame Command (ตามมาตรฐานที่ใช้อ้างอิงกับ Software ส่วนใหญ่)              Surface and Solid Command (ตามมาตรฐานที่ใช้อ้างอิงกับ Software ส่วนใหญ่)              Other Edit (ตามมาตรฐานที่ใช้อ้างอิงกับ Software ส่วนใหญ่) Cad/Cam        3. การใช้คำสั่งประกอบการปฏิบัติงานจริง             ทำความเข้าใจกับลำดับขั้นตอน การจัดการของ 2D และ 3D             การตัดสินใจเลือก Surface Command และ Solid Command             การประยุกต์การทำงาน ให้เข้ากับบุคลิกส่วนตัว


Recommended