+ All Categories
Home > Documents > คู่มือ -...

คู่มือ -...

Date post: 20-Aug-2021
Category:
Upload: others
View: 2 times
Download: 0 times
Share this document with a friend
48
คู่มือ คณะกรรมการประเมินเทียบระดับการศึกษา สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ เอกสารทางวิชาการเลขที่61/2552
Transcript
Page 1: คู่มือ - krabi.nfe.go.th:800krabi.nfe.go.th:800/37/UserFiles/File/k.pdfคู่มือ คณะกรรมการประเมินเทียบระดับการศึกษา

คู่มือ คณะกรรมการประเมินเทียบระดับการศึกษา

สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ

เอกสารทางวิชาการเลขที่ 61/2552

Page 2: คู่มือ - krabi.nfe.go.th:800krabi.nfe.go.th:800/37/UserFiles/File/k.pdfคู่มือ คณะกรรมการประเมินเทียบระดับการศึกษา

คณะที่ปรึกษา นายอภิชาติจีระวุฒิ เลขาธิการกศน. นายชัยยศอิ่มสุวรรณ์ ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านการพัฒนาหลักสูตร นางพรทิพย์กล้ารบ ผู้อำนวยการกลุ่มพัฒนาการศึกษานอกโรงเรียนผู้ยกร่างต้นฉบับ นางนพรัตน์เวโรจน์เสรีวงศ์ กลุ่มพัฒนาการศึกษานอกโรงเรียนผู้ตรวจสอบข้อมูล นางนิตยาศรีนวลนัด กลุ่มพัฒนาการศึกษานอกโรงเรียน นางนพรัตน์เวโรจน์เสรีวงศ์ กลุ่มพัฒนาการศึกษานอกโรงเรียน นางพรทิพย์พรรณนิตานนท์ กลุ่มพัฒนาการศึกษานอกโรงเรียน นางสาวผณินทร์แซ่อึ้ง กลุ่มพัฒนาการศึกษานอกโรงเรียน

คู่มือคณะกรรมการประเมินเทียบระดับการศึกษา

พิมพ์ที่ ห้างหุ้นส่วนจำกัด โรงพิมพ์อักษรไทย (น.ส.พ.ฟ้าเมืองไทย) เลขที่85,87,89,91ซอยจรัญสนิทวงศ์40ถนนจรัญสนิทวงศ์แขวงบางยี่ขัน เขตบางพลัดกรุงเทพฯ10700 โทร.0-2424-4557,0-2424-0694โทรสาร0-2433-2858 นายณัฐปวิณวิวัฒน์ผู้พิมพ์ผู้โฆษณาพ.ศ.2552

Page 3: คู่มือ - krabi.nfe.go.th:800krabi.nfe.go.th:800/37/UserFiles/File/k.pdfคู่มือ คณะกรรมการประเมินเทียบระดับการศึกษา

คำนำ

การประเมินเทียบระดับการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย จะเป็นที่ยอมรับของสังคม ในกระบวนการประเมินที่มีคุณภาพ ได้มาตรฐาน โปร่งใส เป็นธรรมเพียงใดนั้นขึ้นอยู่กับการดำเนินงานของคณะกรรมการประเมินเทียบระดับการศึกษาเป็นสำคัญ สำนักงาน กศน. ได้จัดทำเอกสารนี้ขึ้น เพื่อให้คณะกรรมการประเมินเทียบระดับการศึกษาใช้ประกอบเป็นแนวทางการดำเนินงาน โดยมีเนื้อหาแบ่งออกเป็น 3 บท คือบทที่ 1 สาระสำคัญของการเทียบระดับการศึกษา บทที่ 2 การดำเนินงานเทียบระดับการศึกษาบทที่ 3 แนวทางการประเมินมิติประสบการณ์ และภาคผนวกซึ่งเป็นการนำเสนอเอกสารข้อมูลเกี่ยวกับกฎกระทรวง ระเบียบกระทรวง และเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับการประเมินเทียบระดับการศึกษามิติประสบการณ์ หวังเป็นอย่างยิ่งว่า เอกสารนี้จะมีส่วนช่วยสร้างความเข้าใจให้แก่คณะกรรมการประเมินเทียบระดับการศึกษา ในการปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่ในการเทียบระดับการศึกษาต่อไป สำนักงาน กศน. ใคร่ขอขอบคุณคณะกรรมการประเมินเทียบระดับการศึกษาทุกท่านที่ได้อนุเคราะห์ร่วมเป็นคณะกรรมการประเมินเทียบระดับการศึกษาไว้ณโอกาสนี้ด้วย (นายอภิชาติ จีระวุฒิ) เลขาธิการกศน. 15กรกฎาคม2552

Page 4: คู่มือ - krabi.nfe.go.th:800krabi.nfe.go.th:800/37/UserFiles/File/k.pdfคู่มือ คณะกรรมการประเมินเทียบระดับการศึกษา

สารบัญ

คำนำ บทที่ 1 สาระสำคัญของการเทียบระดับการศึกษา 1 ✤ แนวคิด 1 ✤ หลักการเทียบระดับการศึกษา 1 ✤ วัตถุประสงค์ของการเทียบระดับการศึกษา 2 ✤ ความเป็นมา 2 ✤ บทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการประเมินเทียบระดับการศึกษา 3 ✤ คำที่ควรรู้เกี่ยวกับการเทียบระดับการศึกษา 3บทที่ 2 การดำเนินงานเทียบระดับการศึกษา 5 ✤ ขั้นตอนการดำเนินงาน 5 ✤ คุณสมบัติของผู้สมัครเทียบระดับการศึกษา 5 ✤ ขอบข่ายการประเมินเทียบระดับการศึกษา 6 ✤ เครื่องมือและวิธีการประเมินเทียบระดับการศึกษา 7 ✤ การตัดสินผลการประเมินเทียบระดับการศึกษา 7 ✤ การอนุมัติผลการประเมินเทียบระดับการศึกษา 8 ✤ การออกหลักฐานการประเมินเทียบระดับการศึกษา 8 ✤ การเงินและงบประมาณ 8 ✤ การติดตามผลการเทียบระดับการศึกษา 8บทที่ 3 แนวทางการประเมินมิติประสบการณ์ 9 ✤ การประเมินแฟ้มประมวลประสบการณ์ 9 ✤ การประเมินโดยการสัมภาษณ์ 9 ✤ เทคนิคการสัมภาษณ์ 10 ✤ เคล็ดลับในการดำเนินการสัมภาษณ์ 11บรรณานุกรม 12ภาคผนวก 13 ✤ กฎกระทรวงศึกษาธิการ 14 ✤ ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ 17 ✤ ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ 21 ✤ คำสั่งกระทรวงศึกษาธิการที่สป208/2552 23 ✤ มาตรฐานและตัวบ่งชี้การประเมินเทียบระดับการศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัยระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน 27

หน้า

Page 5: คู่มือ - krabi.nfe.go.th:800krabi.nfe.go.th:800/37/UserFiles/File/k.pdfคู่มือ คณะกรรมการประเมินเทียบระดับการศึกษา

คู่มือ คณะกรรมการประเมินเทียบระดับการศึกษา �

บทที่ 1 สาระสำคัญของการเทียบระดับการศึกษา

แนวคิด

การดำเนินงานประเมินเทียบระดับการศึกษา ได้นำแนวคิดของการยอมรับความรู้และประสบการณ์ที่มีมาก่อนมาประยุกต์ใช้ (Recognition of Prior Learning Assessment)โดยประเมินเพื่อให้ได้รับการรับรองวุฒิการศึกษาทั้งระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษาตอนต้นและมัธยมศึกษาตอนปลาย โดยใช้วิธีการประเมินที่หลากหลายประกอบกัน ซึ่งการให้คุณค่าของผลการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นจากวิถีชีวิต จากประสบการณ์ทางอาชีพ การฝึกอบรม การทำงานการให้คุณค่าของผลการเรียนดังกล่าว จะกระตุ้นและสนับสนุนให้ประชาชนรักการเรียนรู้แสวงหาความรู้อย่างต่อเนื่องซึ่งเป็นคุณลักษณะที่สำคัญของประชาชนที่ประเทศต้องการ

หลักการเทียบระดับการศึกษา

1. เป็นการยอมรับคุณค่าของผลการเรียนรู้ที่เกิดจากการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยการประกอบอาชีพและจากประสบการณ์ทำงาน

2. เป็นการส่งเสริมให้สังคมมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาหรือจัดแหล่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต

3. เป็นการส่งเสริมให้บุคคลมีการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิตจากรูปแบบการเรียนรู้ที่หลากหลาย

4. เป็นการดำเนินการที่ให้ความสำคัญกับมวลประสบการณ์ ความรู้ ความสามารถคุณธรรมจริยธรรมที่เป็นองค์รวมของบุคคล

5. เป็นการดำเนินการที่มีมาตรฐานมีความเป็นธรรมโปร่งใสและตรวจสอบได้

Page 6: คู่มือ - krabi.nfe.go.th:800krabi.nfe.go.th:800/37/UserFiles/File/k.pdfคู่มือ คณะกรรมการประเมินเทียบระดับการศึกษา

คู่มือ คณะกรรมการประเมินเทียบระดับการศึกษา �

วัตถุประสงค์ของการเทียบระดับการศึกษา

1. เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้มีความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์ และคุณธรรมจริยธรรม ได้รับการรับรองคุณวุฒิทางการศึกษา และมีหลักฐานการศึกษาเพื่อใช้ประโยชน์ในการประกอบอาชีพแสดงสถานะในสังคมหรือการศึกษาต่อ

2. เพื่อสร้างแรงจูงใจให้บุคคลทั่วไปมีความกระตือรือร้นในการที่จะแสวงหาความรู้เพิ่มทักษะและสั่งสมประสบการณ์อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต

3. เพื่อตอบสนองความต้องการการยอมรับความรู้และประสบการณ์ของผู้เข้าประเมินเทียบระดับการศึกษา ซึ่งจะทำให้มีความมั่นใจในตนเอง มั่นใจในสถานภาพทางสังคม

ความเป็นมา

ตามกฎกระทรวงว่าด้วยการแบ่งระดับและการเทียบระดับการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย พ.ศ. 2546 ข้อ 3 และระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการประเมินเทียบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานและการศึกษาระดับอุดมศึกษา ระดับต่ำกว่าปริญญาพ.ศ.2551ข้อ9ให้สถานศึกษาแต่งตั้งคณะกรรมการประเมินเทียบระดับการศึกษาจำนวนไม่เกินห้าคน ทั้งนี้ต้องเป็นผู้มีความรู้และประสบการณ์ในสาขาวิชาของการศึกษาระดับนั้น จำนวนไม่น้อยกว่าสามคน และผู้มีความรู้ประสบการณ์ด้านวัดผลและประเมินผลจำนวนหนึ่งคน ดำเนินการประเมินเทียบระดับการศึกษา คณะกรรมการประเมินเทียบระดับการศึกษาของสถานศึกษา อาจแต่งตั้งคณะอนุกรรมการหรือคณะทำงานเพื่อพิจารณาหรือปฏิบัติการอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่คณะกรรมการมอบหมาย นอกจากนี้ ตามกฎกระทรวงข้อ 3 วรรคสอง กำหนดว่า คณะกรรมการประเมินเทียบระดับการศึกษาจำนวนไม่เกินห้าคนนั้น ให้เลือกกรรมการคนหนึ่งเป็นประธานกรรมการและให้หัวหน้าสถานศึกษาตามวรรคหนึ่งแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ของสถานศึกษานั้นจำนวนหนึ่งคนเป็นเลขานุการ และกรรมการจะอยู่ในตำแหน่งคราวละสี่ปี กรรมการซึ่งพ้นจากตำแหน่งอาจได้รับแต่งตั้งอีกได้ ดังนั้น ในปี พ.ศ. 2546 กระทรวงศึกษาธิการ ได้อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 16 วรรคสี่ และมาตรา 74 แห่งพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542ออกกฎกระทรวงว่าด้วยการแบ่งระดับและการเทียบระดับการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย และในปี พ.ศ. 2548 กระทรวงศึกษาธิการได้ประกาศสถานศึกษาในสังกัด

Page 7: คู่มือ - krabi.nfe.go.th:800krabi.nfe.go.th:800/37/UserFiles/File/k.pdfคู่มือ คณะกรรมการประเมินเทียบระดับการศึกษา

คู่มือ คณะกรรมการประเมินเทียบระดับการศึกษา �

สำนักบริหารงานการศึกษานอกโรงเรียนจำนวน21แห่งทำหน้าที่เทียบระดับการศึกษาและต่อมาในปี พ.ศ. 2551 ได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ส่งผลให้บทบาทหน้าที่ของสถานศึกษาที่ทำหน้าที่เทียบระดับการศึกษาเปลี่ยนแปลงไป กระทรวงศึกษาธิการจึงได้ประกาศสถานศึกษาในสังกัดสำนักงาน กศน.ให้ทำหน้าที่ เทียบระดับการศึกษาจังหวัดละ 1 แห่งทั่วประเทศ รวม 75 แห่ง และกรุงเทพมหานครมี4แห่งรวมทั้งสิ้น79แห่ง

บทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการประเมินเทียบระดับการศึกษา

1. แต่งตั้งคณะอนุกรรมการและหรือคณะทำงาน 2. ชี้แจงข้อมูลเกี่ยวกับการประเมินเทียบระดับการศึกษาให้แก่คณะอนุกรรมการ/

คณะทำงาน 3. ร่วมกับสถานศึกษาวางแผนการประเมินเทียบระดับการศึกษา 4. อ่านและประเมินแฟ้มประมวลประสบการณ์ของผู้เข้าประเมิน 5. สัมภาษณ์ผู้เข้าประเมินตามวันเวลาและสถานที่ที่สถานศึกษากำหนด 6. ให้ข้อคิดเห็นข้อเสนอแนะแก่สถานศึกษาที่ทำหน้าที่เทียบระดับการศึกษา 7. ดำเนินการอื่นๆที่เกี่ยวข้องตามที่ได้รับมอบหมาย

คำที่ควรรู้เกี่ยวกับการเทียบระดับการศึกษา

คณะกรรมการประเมินเทียบระดับการศึกษา หมายถึงคณะบุคคลจำนวนไม่เกินห้าคนที่สถานศึกษาแต่งตั้งจากผู้มีความรู้และประสบการณ์ในสาขาวิชาของการศึกษาระดับนั้นจำนวนไม่น้อยกว่าสามคน และต้องมีผู้มีความรู้ ประสบการณ์ด้านวัดผลและประเมินผลจำนวนหนึ่งคน ดำเนินการประเมินเทียบระดับการศึกษา ตามระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการประเมินเทียบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานและการศึกษาระดับอุดมศึกษา ระดับต่ำกว่าปริญญาพ.ศ.2551 คณะอนุกรรมการหรือคณะทำงาน หมายถึง คณะบุคคลที่คณะกรรมการประเมินเทียบระดับการศึกษาของสถานศึกษา แต่งตั้งขึ้นเพื่อพิจารณาหรือปฏิบัติการอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่คณะกรรมการมอบหมาย

Page 8: คู่มือ - krabi.nfe.go.th:800krabi.nfe.go.th:800/37/UserFiles/File/k.pdfคู่มือ คณะกรรมการประเมินเทียบระดับการศึกษา

คู่มือ คณะกรรมการประเมินเทียบระดับการศึกษา �

การเทียบระดับการศึกษา หมายถึง การนำผลการเรียน ความรู้ และประสบการณ์ที่ได้รับจากการศึกษานอกระบบที่จัดเป็นหลักสูตรเฉพาะ หรือหลักสูตรฝึกอบรมตามความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย และการศึกษาตามอัธยาศัย การฝึกอาชีพ หรือจากประสบการณ์การทำงานมาประเมินเพื่อเทียบระดับการศึกษาระดับใดระดับหนึ่ง การประเมินเทียบระดับการศึกษา หมายถึง วิธีการ กระบวนการ ในการวัดผลประเมินผลการเรียนรู้ที่ครอบคลุมลักษณะที่สำคัญ ทั้งด้านความรู้ ทักษะกระบวนการคุณธรรม จริยธรรม เพื่อเป็นข้อมูลสำหรับตัดสินผลการเรียนรู้ให้เท่าระดับการศึกษาระดับใดระดับหนึ่งตามเกณฑ์ที่สถานศึกษากำหนด แฟ้มประมวลประสบการณ์ หมายถึง แหล่งรวบรวมข้อมูลความรู้ ความสามารถและมวลประสบการณ์ของผู้เข้าประเมิน เพื่อนำเสนอหลักฐานความรู้ ความสามารถ และมวลประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาอาชีพ การพัฒนาคุณภาพชีวิต การพัฒนาสังคมและชุมชนที่สอดคล้องกับมาตรฐานและตัวบ่งชี้ในระดับการศึกษา ผู้เข้าประเมินเทียบระดับการศึกษา หมายถึง บุคคลทั่วไปที่พ้นเกณฑ์การศึกษาภาคบังคับและไม่เป็นนักเรียน นักศึกษาของสถานศึกษาในระบบโรงเรียน สถานศึกษานอกระบบโรงเรียน ที่แบ่งเป็นระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษาตอนต้น และมัธยมศึกษาตอนปลายและเป็นผู้มีประสบการณ์ในการประกอบการงานอาชีพ การพัฒนาคุณภาพชีวิต การพัฒนาสังคมและชุมชน ถิ่นที่อยู่ประจำ หมายถึง ที่พักอาศัยหรือสถานที่ประกอบอาชีพปัจจุบันของผู้เข้าประเมินเทียบระดับการศึกษา

Page 9: คู่มือ - krabi.nfe.go.th:800krabi.nfe.go.th:800/37/UserFiles/File/k.pdfคู่มือ คณะกรรมการประเมินเทียบระดับการศึกษา

คู่มือ คณะกรรมการประเมินเทียบระดับการศึกษา �

บทที่ 2 การดำเนินงานเทียบระดับการศึกษา

ในการดำเนินงานประเมินเทียบระดับการศึกษา สถานศึกษาที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ประกาศให้ทำหน้าที่เทียบระดับการศึกษา จะต้องเปิดให้มีการเทียบระดับการศึกษาเป็นการทั่วไปไม่น้อยกว่าปีการศึกษาละหนึ่งครั้ง ระยะเวลาการเปิดประเมินมิติความรู้ความคิดให้เป็นไปตามที่สำนักงานกศน.กำหนดส่วนการประเมินมิติประสบการณ์ให้ขึ้นอยู่กับความพร้อมของแต่ละสถานศึกษาโดยมีขั้นตอนการดำเนินงานดังต่อไปนี้

ขั้นตอนการดำเนินงาน

1. การประชาสัมพันธ์รับสมัครผู้เข้าประเมิน 2. แนะแนวและรับสมัคร 3. ปฐมนิเทศผู้เข้าประเมิน 4. ดำเนินการประเมินมิติความรู้ความคิดและมิติประสบการณ์ 5. ประมวลผลการประเมิน 6. คณะกรรมการประเมินเทียบระดับการศึกษาพิจารณาให้ความเห็นชอบ

ผลการประเมิน 7. การสัมมนาวิชาการ/ปัจฉิมนิเทศ 8. สถานศึกษาออกหลักฐานการศึกษาให้กับผู้ผ่านการประเมินเทียบระดับ

การศึกษา

คุณสมบัติของผู้สมัครเทียบระดับการศึกษา

1. สัญชาติไทยหรือเป็นบุคคลที่เข้าเมืองโดยชอบด้วยกฎหมาย 2. มีภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่ประจำ หรือสถานที่ประกอบอาชีพในเขตบริการ

การเทียบระดับการศึกษาของสถานศึกษา

Page 10: คู่มือ - krabi.nfe.go.th:800krabi.nfe.go.th:800/37/UserFiles/File/k.pdfคู่มือ คณะกรรมการประเมินเทียบระดับการศึกษา

คู่มือ คณะกรรมการประเมินเทียบระดับการศึกษา �

3. ไม่เป็นนักเรียนหรือนักศึกษาซึ่งกำลังศึกษาอยู่ในสถานศึกษาที่จัดการศึกษาในระบบหรือการศึกษานอกระบบที่แบ่งระดับเช่นเดียวกับการศึกษาในระบบ

4. มีพื้นความรู้ ในระดับที่ต่ำกว่าระดับที่ประสงค์จะขอเทียบระดับการศึกษาหนึ่งระดับ(ระดับประถมศึกษามัธยมศึกษาตอนต้นและมัธยมศึกษาตอนปลาย)

ขอบข่ายการประเมินเทียบระดับการศึกษา การประเมินเทียบระดับการศึกษาเป็นการประเมินแบบองค์รวม ซึ่งมุ่งเน้นความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งร่างกายจิตใจสติปัญญาองค์ความรู้และคุณธรรมมากกว่าการประเมินความรู้ตามสาระการเรียนรู้ ดังนั้น การประเมินเทียบระดับการศึกษาจึงมีขอบข่ายเนื้อหาการประเมิน4องค์ประกอบคือ 1. ความรู้พื้นฐาน เป็นความรู้ทางด้านวิชาสามัญ ที่จะใช้เป็นเครื่องมือในการศึกษาหาความรู้ด้วยตนเองจากสื่อและแหล่งวิทยาการต่างๆต่อไปเช่นทักษะภาษาไทยภาษาต่างประเทศเทคโนโลยีสารสนเทศตลอดจนความรู้ที่เป็นฐานความรู้ของเรื่องอื่นๆได้แก่ความรู้ทางด้านคณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ ซึ่งความรู้พื้นฐานเหล่านี้ต้องเป็นความรู้ที่สอดคล้องกับมาตรฐานและตัวบ่งชี้ที่กำหนด และสอดคล้องกับสภาพวิถีชีวิตของบุคคลที่จะมาขอเทียบระดับการศึกษา 2. ความรู้และทักษะด้านพัฒนาอาชีพ เป็นความรู้ ความสามารถ และทักษะด้านการงานอาชีพ ความสามารถในการบริหารจัดการด้านการงานอาชีพมีการพัฒนากระบวนการการทำงานหรือเป็นผู้มีความรู้ความสามารถ มีวิสัยทัศน์ในการวางแผน การเลือกใช้เทคโนโลยีและเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ดำเนินงานและพัฒนาการงานอาชีพไปสู่เป้าหมายได้อย่างสมเหตุสมผล รวมทั้งการมีคุณธรรมจริยธรรมในการงานอาชีพ 3. ความรู้และทักษะด้านพัฒนาคุณภาพชีวิต เป็นความรู้ความสามารถที่สะท้อนให้เห็นว่าเป็นผู้ที่มีความเข้าใจและเห็นคุณค่าของชีวิตครอบครัวมีทักษะในการดำเนินชีวิต การมีสุนทรียภาพสามารถใช้ชีวิตอย่างมีความสุข มีทักษะในการเสริมสร้างสุขภาพทั้งทางกายและจิตใจ ตลอดจนยึดหลักธรรมตามศาสนาที่ตนนับถือเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิต 4. ความรู้และทักษะด้านพัฒนาสังคมและชุมชน เป็นความรู้ที่ เกี่ยวกับสังคมรอบ ๆ ตัว และทักษะในการนำความรู้ความสามารถที่มีมาใช้ในการดำเนินชีวิตครอบครัวให้มีความมั่นคงเข้มแข็งอบอุ่นตลอดจนนำศักยภาพของตนเองมาช่วยส่งเสริมสนับสนุนกิจกรรมที่เป็นประโยชน์แก่ชุมชนและสังคม

Page 11: คู่มือ - krabi.nfe.go.th:800krabi.nfe.go.th:800/37/UserFiles/File/k.pdfคู่มือ คณะกรรมการประเมินเทียบระดับการศึกษา

คู่มือ คณะกรรมการประเมินเทียบระดับการศึกษา �

เพื่อนำไปสู่ความเข้มแข็งของชุมชนและสังคมทั้งด้านอาชีพชีวิตความเป็นอยู่รวมทั้งส่งเสริมให้สังคมและชุมชนมีความกระตือรือร้นในการศึกษาหาความรู้อย่างต่อเนื่อง

เครื่องมือและวิธีการประเมินเทียบระดับการศึกษา

สำนักงานกศน. ร่วมกับสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน)พิจารณาปรับปรุงมาตรฐานการเรียนรู้ ตัวบ่งชี้ของการเทียบระดับการศึกษา โดยสำนักงานกศน. เป็นผู้จัดทำเครื่องมือประเมินเทียบระดับการศึกษาที่สอดคล้องกับมาตรฐานและตัวบ่งชี้โดยใช้เครื่องมือการประเมินที่หลากหลาย เช่น แฟ้มประมวลประสบการณ์ การเสนอผลงานการสัมภาษณ์ การปฏิบัติจริง การทดสอบ การตรวจสอบหลักฐานประกอบกัน และเพื่อให้การดำเนินงานการประเมินเทียบระดับการศึกษามีประสิทธิภาพ จึงแบ่งการประเมินเทียบระดับการศึกษาเป็น 2 มิติ คือ มิติความรู้ ความคิด และมิติประสบการณ์ โดยมีมาตรฐานในแต่ละมิติดังนี้ มิติที่ 1 มิติความรู้ ความคิด มี 6 มาตรฐาน คือ 1) ความสามารถในการสื่อสาร 2) ความสามารถในการคิดวิเคราะห์สังเคราะห์และตัดสิน 3) ความสามารถในการแสวงหาความรู้และการใช้เทคโนโลยี 4) ความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพกายและจิตของตน 5) ความเป็นไทยสากลและพลเมืองดี 6) ความรู้เกี่ยวกับทรัพยากรสิ่งแวดล้อมและการดำรงชีวิต วิธีการประเมินใช้เครื่องมือที่เป็นแบบทดสอบซึ่งมีทั้งแบบปรนัยและอัตนัย มิติที่ 2 มิติประสบการณ์ มี 3 มาตรฐาน คือ 1) ด้านการพัฒนาอาชีพ 2) ด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิต 3) ด้านการพัฒนาสังคมและชุมชน วิธีการประเมิน ผู้เข้าประเมินต้องนำเสนอแฟ้มประมวลประสบการณ์ และเข้ารับการสัมภาษณ์ โดยมีคณะกรรมการประเมินเทียบระดับการศึกษาที่ได้รับการแต่งตั้งจากผู้บริหารสถานศึกษาดำเนินการประเมิน

การตัดสินผลการประเมินเทียบระดับการศึกษา มีเกณฑ์การตัดสินดังนี้

1. ผลการประเมินมิติความรู้ ความคิด ต้องได้คะแนนรวมทุกมาตรฐานไม่น้อยกว่าร้อยละ50

Page 12: คู่มือ - krabi.nfe.go.th:800krabi.nfe.go.th:800/37/UserFiles/File/k.pdfคู่มือ คณะกรรมการประเมินเทียบระดับการศึกษา

คู่มือ คณะกรรมการประเมินเทียบระดับการศึกษา �

2. ผลการประเมินมิติประสบการณ์ ต้องได้คะแนนรายมาตรฐานไม่น้อยกว่าร้อยละ50

ผู้ เข้าประเมินต้องผ่านการประเมินทั้ง 2 มิติ จึงจะตัดสินผลว่า “ผ่าน”การประเมินเทียบระดับการศึกษานั้น ๆ ผลของการผ่านและไม่ผ่านจะไม่มีระดับคะแนนและไม่มีคะแนนเฉลี่ยสะสม(GPAX)

การอนุมัติผลการประเมินเทียบระดับการศึกษา

หัวหน้าสถานศึกษาเป็นผู้อนุมัติผลการประเมินเทียบระดับการศึกษา

การออกหลักฐานการประเมินเทียบระดับการศึกษา

เมื่อหัวหน้าสถานศึกษาอนุมัติผลการประเมินเทียบระดับการศึกษาแล้วให้สถานศึกษาจัดทำเอกสารหลักฐานการประเมินเทียบระดับการศึกษา

การเงินและงบประมาณ

ผู้สมัครเข้าประเมินเทียบระดับการศึกษา ต้องชำระค่าธรรมเนียมเพื่อขอเทียบระดับการศึกษา ระดับการศึกษาละ 1,500 บาทต่อคน และรายได้ที่ ได้รับนี้สถานศึกษาสามารถนำไปเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานประเมินเทียบระดับการศึกษา เช่น ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานสอบมิติความรู้ ความคิด และค่าตอบแทนคณะกรรมการประเมินมิติประสบการณ์(ค่าอ่านแฟ้มค่าสัมภาษณ์)

การติดตามผลการเทียบระดับการศึกษา

การดำเนินงานเทียบระดับการศึกษาของแต่ละสถานศึกษา ผู้มีบทบาทสำคัญคือคณะกรรมการประเมินเทียบระดับการศึกษาและผู้บริหารสถานศึกษาที่ทำหน้าที่เทียบระดับการศึกษาจะต้องเข้าใจกระบวนการ ขั้นตอนของการดำเนินงาน โดยเฉพาะขั้นตอนของการประเมินมิติประสบการณ์ ที่จะต้องติดตาม ให้กำลังใจแก่ผู้เข้าประเมินในการจัดทำแฟ้มประมวลประสบการณ์ และเมื่อการประเมินเทียบระดับการศึกษาแต่ละครั้งดำเนินการเสร็จเรียบร้อยแล้ว สิ่งสำคัญประเด็นหนึ่ง นั่นก็คือ ควรมีการติดตามผลผู้ที่ผ่านการประเมินเทียบระดับการศึกษาไปแล้วว่าผู้นั้นได้ดำเนินการพัฒนาคุณภาพชีวิตดีขึ้นหรือไม่อย่างไรมีการศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้นหรือไม่ มีการนำวุฒิการศึกษาไปพัฒนาหน้าที่การงานของตนเองหรือไม่

Page 13: คู่มือ - krabi.nfe.go.th:800krabi.nfe.go.th:800/37/UserFiles/File/k.pdfคู่มือ คณะกรรมการประเมินเทียบระดับการศึกษา

คู่มือ คณะกรรมการประเมินเทียบระดับการศึกษา �

บทที่ 3 แนวทางการประเมินมิติประสบการณ์

การประเมินมิติประสบการณ์ เป็นการประเมินของคณะกรรมการประเมินเทียบระดับการศึกษา หากสถานศึกษาใดมีผู้เข้าประเมินจำนวนมากเกินกว่าคณะกรรมการประเมินจะดำเนินการได้ ก็สามารถแต่งตั้งคณะอนุกรรมการประเมินเทียบระดับการศึกษาดำเนินการได้ ซึ่งการประเมินจะใช้หลากหลายวิธีประกอบกันตามมาตรฐานและตัวบ่งชี้ที่กำหนดไว้ เพื่อให้สามารถตรวจสอบและสืบค้นข้อมูล ความรู้ ความสามารถของผู้เข้าประเมินได้อย่างแท้จริง ปัจจุบันได้ ใช้การสัมภาษณ์ การปฏิบัติจริง การตรวจสอบหลักฐาน เอกสารรายงาน (แฟ้มประมวลประสบการณ์) รวมทั้งต้องมีการบันทึกผลการประเมินตามเกณฑ์การให้คะแนนที่กำหนดไว้ ทั้งนี้ เพื่อให้การประเมินเป็นมาตรฐานมีความยุติธรรมโปร่งใสตรวจสอบได้และเป็นที่ยอมรับของสังคม ภารกิจที่คณะกรรมการหรือคณะอนุกรรมการประเมินเทียบระดับการศึกษาต้องดำเนินการในการประเมินมิติประสบการณ์มีดังนี้

การประเมินแฟ้มประมวลประสบการณ์

1. ทำความเข้าใจกับเครื่องมือการประเมินแฟ้มประมวลประสบการณ์ 2. อ่านแฟ้มประมวลประสบการณ์ของผู้เข้าประเมินแต่ละคน พร้อมทั้งประเมิน

ผลงานแฟ้มตามตัวบ่งชี้และเกณฑ์การให้คะแนน

การประเมินโดยการสัมภาษณ์

1. ทำความเข้าใจกับเครื่องมือการสัมภาษณ์ 2. ร่วมกับคณะกรรมการคนอื่นในคณะเดียวกัน ทำการสัมภาษณ์ตามตัวบ่งชี้

และเกณฑ์การให้คะแนน โดยใช้ข้อมูลแฟ้มประมวลประสบการณ์ประกอบการสัมภาษณ์ด้วย

Page 14: คู่มือ - krabi.nfe.go.th:800krabi.nfe.go.th:800/37/UserFiles/File/k.pdfคู่มือ คณะกรรมการประเมินเทียบระดับการศึกษา

คู่มือ คณะกรรมการประเมินเทียบระดับการศึกษา �0

3. เมื่อคณะกรรมการสัมภาษณ์ผู้เข้าประเมินเสร็จหนึ่งคนแล้ว ก่อนที่จะสัมภาษณ์คนต่อไป คณะกรรมการควรมีการปรึกษาหารือหรือแสดงความคิดเห็นกันก่อน จากนั้นจึงจะให้คะแนนพร้อมเหตุผลการประเมินลงในแบบฟอร์มที่สถานศึกษาจัดเตรียมไว้ให้

4. หากผู้เข้าประเมินคนใด อธิบายประสบการณ์ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการประกอบอาชีพ การพัฒนาคุณภาพชีวิต หรือการพัฒนาสังคมและชุมชนไม่ชัดเจน หรือคณะกรรมการต้องการเห็นสภาพจริง ก็สามารถกระทำได้จากนั้นจึงค่อยให้คะแนน

5. หลังจากที่คณะกรรมการสัมภาษณ์ผู้เข้าประเมินเสร็จเรียบร้อยแล้ว จะต้องสรุปรวบรวมผลการประเมินตามแบบฟอร์มที่สถานศึกษาจัดเตรียมไว้ให้พร้อมทั้งลงนามไว้ด้วย

ในการประเมินผลของคณะกรรมการ สิ่งสำคัญประการหนึ่ง นั่นก็คือ การระบุเหตุผลประกอบการให้คะแนน ซึ่งถือว่าเป็นร่องรอยที่จะตรวจสอบว่าผู้เข้าประเมินผ่านหรือไม่ผ่านการประเมินเพราะเหตุใด

เทคนิคการสัมภาษณ์

คำว่า “สัมภาษณ์” หมายถึง การพบกันระหว่างบุคคล 2 คน หรือมากกว่านี้กรณีสัมภาษณ์หมู่ กล่าวคือ ระหว่างผู้สัมภาษณ์กับผู้ถูกสัมภาษณ์เพื่อเรียนรู้และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกัน อันจะเป็นประโยชน์แก่ทั้งผู้สัมภาษณ์และผู้ถูกสัมภาษณ์ (ลำดวน จาดใจดี 2536 : 30) การสัมภาษณ์นั้นมีวัตถุประสงค์หลักคือ เป็นการให้โอกาสแก่ทั้งผู้สัมภาษณ์และผู้ถูกสัมภาษณ์ได้รับทราบข้อมูลซึ่งกันและกัน เพื่อนำข้อมูลที่ได้นั้นมาใช้ประกอบการตัดสินใจได้อย่างเหมาะสมที่สุด แต่เนื่องจากเวลาที่ ใช้ในการสัมภาษณ์แต่ละคนนั้นมีจำกัด ดังนั้นการวางแผนและการกำหนดแนวทางในการสัมภาษณ์ที่ดี จะมีส่วนช่วยให้ได้ข้อมูลที่ชัดเจนยิ่งขึ้นภายในเวลาที่กำหนด(ประคัลภ์ ปัณฑพลังกูร 2550 : 29) ในการสัมภาษณ์ที่มีการกำหนดโครงสร้างการสัมภาษณ์ที่ชัดเจนนั้น ผู้สัมภาษณ์จะถามคำถามผู้เข้ารับการสัมภาษณ์ด้วยคำถามเดียวกัน ทำให้ผู้สัมภาษณ์สามารถที่จะเปรียบเทียบคำตอบที่ ได้รับมาจากผู้เข้ารับการสัมภาษณ์แต่ละคนได้ การสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างจะช่วยให้เกิดความยุติธรรมและเป็นรูปธรรมที่ชัดเจน แต่วิธีการสัมภาษณ์แบบนี้

Page 15: คู่มือ - krabi.nfe.go.th:800krabi.nfe.go.th:800/37/UserFiles/File/k.pdfคู่มือ คณะกรรมการประเมินเทียบระดับการศึกษา

คู่มือ คณะกรรมการประเมินเทียบระดับการศึกษา ��

อาจทำให้ผู้สัมภาษณ์ได้รับข้อมูลไม่มากพอจากผู้เข้ารับการสัมภาษณ์ การสัมภาษณ์แบบไม่มีโครงสร้างนั้น ผู้สัมภาษณ์จะตั้งคำถามขึ้นอย่างอิสระ โดยไม่จำเป็นที่จะต้องใช้คำถามเดียวกันกับผู้เข้ารับการสัมภาษณ์ทุกคน การสัมภาษณ์มักจะถามกันไปเรื่อย ๆ ด้วยคำถามที่ต่อเนื่องและเป็นคำถามที่สามารถได้ข้อมูลมากที่สุด วิธีนี้ผู้สัมภาษณ์จะได้รับข้อมูลมากขึ้นจากผู้เข้ารับการสัมภาษณ์ แต่ก็จะมีความยากมากขึ้นในการเปรียบเทียบคำตอบของผู้เข้ารับการสัมภาษณ์แต่ละคนและบางครั้งอาจจะทำให้พลาดข้อมูลที่สำคัญที่ต้องใช้ในการตัดสินใจได้ ดังนั้น การใช้การสัมภาษณ์ทั้งสองวิธีประกอบกันนั้น น่าจะเป็นความคิดที่ดีที่สุดกล่าวคือ ให้ความยืดหยุ่นในการเลือกใช้ชุดคำถาม แต่ก็ต้องแน่ใจว่าผู้เข้ารับการสัมภาษณ์ทุกคนได้ตอบคำถามหลักครบทุกคำถาม โดยการเตรียมชุดคำถามล่วงหน้าไว้สำหรับสัมภาษณ์ผู้เข้ารับการสัมภาษณ์ทุกคน

เคล็ดลับในการดำเนินการสัมภาษณ์ (ประคัลภ์ ปัณฑพลังกูร 2550 : 45-46)

✿ ผู้สัมภาษณ์ต้องเป็นผู้ควบคุมสถานการณ์ในขณะทำการสัมภาษณ์ ✿ อย่าเชื่อความประทับใจแรกพบในตัวผู้เข้ารับการสัมภาษณ์ ✿ ช่วยผู้เข้ารับการสัมภาษณ์ให้รู้สึกสบายใจในขณะสัมภาษณ์ เพราะจะทำให้

ผู้เข้ารับการสัมภาษณ์มีความยินดีและเต็มใจที่จะพูดคุยถึงเรื่องต่าง ๆ อย่างอิสระ

✿ ให้ฟังมากกว่าพูดผู้สัมภาษณ์หลายคนนั้นพูดมากกว่าฟัง ✿ ทุกคำถามที่ถามไป ต้องมีวัตถุประสงค์ ในการถามที่ชัดเจน มิฉะนั้น

จะเป็นการเสียเวลาที่มีคุณค่าในการทำความรู้จักผู้เข้ารับการสัมภาษณ์ ✿ จดบันทึก แต่ไม่ควรให้ผู้เข้ารับการสัมภาษณ์รู้สึกกระอักกระอ่วน ควรบอก

ผู้เข้ารับการสัมภาษณ์ให้ทราบก่อนว่าจะมีการจดบันทึกบ้างในประเด็นที่สำคัญๆระหว่างการสัมภาษณ์

✿ อย่าด่วนสรุป หรือรีบสรุปในสิ่งที่ยังไม่เห็นชัดเจน ให้พิจารณาถึงรูปแบบพฤติกรรมของผู้เข้ารับการสัมภาษณ์ที่สังเกตเห็นบ่อย ๆ ก่อนที่จะสรุปประเด็นเกี่ยวกับผู้เข้ารับการสัมภาษณ์แต่ละคน

✿ อย่าใช้การถามนำหรือการบอกผู้เข้ารับการสัมภาษณ์ถึงคำตอบที่ควรจะตอบ ✿ สัมภาษณ์อย่างเป็นระบบถ้ามีการสัมภาษณ์ผู้เข้ารับการสัมภาษณ์หลายคน

Page 16: คู่มือ - krabi.nfe.go.th:800krabi.nfe.go.th:800/37/UserFiles/File/k.pdfคู่มือ คณะกรรมการประเมินเทียบระดับการศึกษา

คู่มือ คณะกรรมการประเมินเทียบระดับการศึกษา ��

ประคัลภ์ ปัณฑพลังกูร. การว่าจ้างและรักษาบุคลากร. กรุงเทพฯ : บริษัทเอ็กซเปอร์เน็ทจำกัด,2550.

มณีรัตน์ อัจฉริยพันธกุล. คู่มือพัฒนาการประเมินเทียบระดับการศึกษา เพื่อยกระดับ การศึกษา ประชากรวัยแรงงานในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์. ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัดประจวบคีรีขันธ์:2551.

ลำดวน จาดใจดี. การสมัครงานและสอบสัมภาษณ์. กรุงเทพฯ : หจก.ไทยเจริญการพิมพ์,2536.

ศ.ดร.อุทุมพร จามรมาน และคณะ. รายงานการพิจารณา ปรับปรุง มาตรฐาน และตัวบ่งชี้ การประเมินเทียบระดับการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย.เอกสารอัดสำเนา,มกราคม:2551.

ส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย, สำนักงาน. คู่มือดำเนินงาน การประเมินเทียบระดับการศึกษา พ.ศ. 2551.รังษีการพิมพ์:2551.

ส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย, สำนักงาน.คู่มือผู้เข้าประเมินเทียบระดับการศึกษา พ.ศ. 2551. รังษีการพิมพ์:2551.

บรรณานุกรม

Page 17: คู่มือ - krabi.nfe.go.th:800krabi.nfe.go.th:800/37/UserFiles/File/k.pdfคู่มือ คณะกรรมการประเมินเทียบระดับการศึกษา

1. กฎกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการแบ่งระดับและการเทียบระดับการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย พ.ศ. 2546

2. ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการประเมินเทียบระดับการศึกษา ขั้นพื้นฐานและการศึกษาระดับอุดมศึกษา ระดับต่ำกว่าปริญญา พ.ศ. 2551

3. ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง เปลี่ยนแปลง แก้ไข เพิ่มเติมหลักฐานแสดงผลการประเมินเทียบ

ระดับการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย และแบบรายงาน ผู้ผ่านการประเมินเทียบระดับการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย

4. คำสั่งกระทรวงศึกษาธิการ ที่ สป 208/2552 เรื่อง การใช้ระเบียนแสดงผลการประเมินเทียบระดับการศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กศน.1 ทศ-)

5. มาตรฐานและตัวบ่งชี้การประเมินเทียบระดับการศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน

ภาคผนวก

Page 18: คู่มือ - krabi.nfe.go.th:800krabi.nfe.go.th:800/37/UserFiles/File/k.pdfคู่มือ คณะกรรมการประเมินเทียบระดับการศึกษา

คู่มือ คณะกรรมการประเมินเทียบระดับการศึกษา ��

กฎกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยการแบ่งระดับและการเทียบระดับการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย

พ.ศ. 2546

อาศัยอำนาจตามความในมาตรา16วรรคสี่และมาตรา74แห่งพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการและรัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัยออกกฎกระทรวงไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ1 การศึกษานอกระบบให้แบ่งออกเป็นสองระดับดังนี้ (1) การศึกษาขั้นพื้นฐานแบ่งออกเป็นสามระดับคือ (ก) การศึกษาระดับก่อนประถมศึกษา (ข) การศึกษาระดับประถมศึกษา (ค) การศึกษาระดับมัธยมศึกษา แบ่งออกเป็นสองระดับ คือการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้นและการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย โดยแบ่งออกเป็นประเภทสามัญศึกษาและประเภทอาชีวศึกษา (2) การศึกษาระดับอุดมศึกษาแบ่งออกเป็นสองระดับคือ (ก) การศึกษาระดับต่ำกว่าปริญญา (ข) การศึกษาระดับปริญญา ข้อ2 การศึกษานอกระบบที่จัดเป็นหลักสูตรเฉพาะหรือหลักสูตรฝึกอบรมตามความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย และการศึกษาตามอัธยาศัย ผู้เรียนอาจนำผลการเรียนความรู้ และประสบการณ์มาเทียบระดับการศึกษากับการศึกษาในระบบหรือการศึกษานอกระบบตามข้อ1ได้ ข้อ3 การเทียบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานและการศึกษาระดับอุดมศึกษาระดับต่ำกว่าปริญญา ให้สถานศึกษาที่รัฐมนตรีกำหนดแต่งตั้งคณะกรรมการจำนวนไม่เกินห้าคนทั้งนี้ต้องเป็นผู้มีความรู้และประสบการณ์ในสาขาวิชาของการศึกษาระดับนั้นจำนวนไม่น้อยกว่าสามคน และผู้มีความรู้และประสบการณ์ด้านการวัดผลและการประเมินผลจำนวนหนึ่งคน

Page 19: คู่มือ - krabi.nfe.go.th:800krabi.nfe.go.th:800/37/UserFiles/File/k.pdfคู่มือ คณะกรรมการประเมินเทียบระดับการศึกษา

คู่มือ คณะกรรมการประเมินเทียบระดับการศึกษา ��

ดำเนินการประเมินเทียบระดับการศึกษาตามระเบียบที่รัฐมนตรีกำหนด ทั้งนี้โดยพิจารณาจากจุดมุ่งหมาย วิธีการศึกษา หลักสูตร ระยะเวลาของการศึกษา การวัดผลและการประเมินผลและหลักเกณฑ์การจบหลักสูตรนั้น ให้คณะกรรมการตามวรรคหนึ่งเลือกกรรมการคนหนึ่งเป็นประธานกรรมการและให้หัวหน้าสถานศึกษาตามวรรคหนึ่งแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ของสถานศึกษานั้นจำนวนหนึ่งคนเป็นเลขานุการ ข้อ4 กรรมการตามข้อ 3 อยู่ในตำแหน่งคราวละสี่ปี กรรมการซึ่งพ้นจากตำแหน่งอาจได้รับแต่งตั้งอีกได้ ในกรณีที่กรรมการดำรงตำแหน่งครบตามวาระแล้ว แต่ยังมิได้มีการแต่งตั้งกรรมการขึ้นใหม่ ให้กรรมการที่พ้นจากตำแหน่งตามวาระปฏิบัติหน้าที่ไปพลางก่อน จนกว่ากรรมการที่ได้รับแต่งตั้งใหม่จะเข้ารับหน้าที่ ข้อ5 นอกจากการพ้นจากตำแหน่งตามวาระตามข้อ 4 กรรมการพ้นจากตำแหน่งเมื่อ (1) ตาย (2) ลาออก (3) เป็นบุคคลล้มละลาย (4) เป็นคนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถ (5) ได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ ในกรณีที่กรรมการพ้นจากตำแหน่งก่อนวาระ สถานศึกษาที่รัฐมนตรีกำหนดอาจแต่งตั้งคณะกรรมการแทนตำแแหน่งที่ว่างได้ และให้ผู้ที่ ได้รับการแต่งตั้งอยู่ในตำแหน่งเท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของคณะกรรมการซึ่งตนแทน ในกรณีที่มีการแต่งตั้งกรรมการเพิ่มขึ้นในระหว่างที่กรรมการซึ่งแต่งตั้งไว้แล้วยังมีวาระอยู่ในตำแหน่ง ให้ผู้ที่ ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นกรรมการเพิ่มขึ้นอยู่ในตำแหน่งเท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของกรรมการที่ได้รับเลือกแต่งตั้งไว้แล้ว ข้อ6 การประชุมของคณะกรรมการให้เป็นไปตามข้อบังคับที่คณะกรรมการกำหนด ข้อ7 ให้คณะกรรมการเทียบระดับการศึกษาระดับอุดมศึกษาคณะหนึ่งประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาวิชาต่าง ๆ ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการแต่งตั้ง

Page 20: คู่มือ - krabi.nfe.go.th:800krabi.nfe.go.th:800/37/UserFiles/File/k.pdfคู่มือ คณะกรรมการประเมินเทียบระดับการศึกษา

คู่มือ คณะกรรมการประเมินเทียบระดับการศึกษา ��

จำนวนสามคน และผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาวิชาต่าง ๆ ซึ่งรัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัยแต่งตั้งจำนวนเจ็ดคนเป็นกรรมการ ให้คณะกรรมการเลือกกรรมการคนหนึ่งเป็นประธานกรรมการ และให้ผู้อำนวยการสำนักมาตรฐานอุดมศึกษาทบวงมหาวิทยาลัยเป็นกรรมการและเลขานุการ ข้อ8 วาระการดำรงตำแหน่ง การพ้นจากตำแหน่ง และประชุมของคณะกรรมการเทียบระดับการศึกษาระดับอุดมศึกษาให้นำข้อ4ข้อ5และข้อ6มาบังคับโดยอนุโลม ข้อ9 ให้คณะกรรมการเทียบระดับการศึกษาระดับอุดมศึกษา มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้ (1) ออกระเบียบ กำหนดหลักเกณฑ์ และวิธีการเทียบระดับการศึกษาทั้งนี้โดยพิจารณาจากจุดมุ่งหมายวิธีการศึกษาหลักสูตรระยะเวลาของการศึกษาการวัดผลและประเมินผลและหลักเกณฑ์การจบหลักสูตรนั้น (2) พิจารณาดำเนินการประเมินเทียบระดับการศึกษาระดับอุดมศึกษา (3) ตั้งคณะอนุกรรมการหรือคณะทำงานเพื่อพิจารณาหรือปฏิบัติการอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่คณะกรรมการมอบหมาย (4) ดำเนินการอื่นใดตามที่รัฐมนตรีมอบหมาย ข้อ10การศึกษานอกระบบที่มีระดับเดียวกันกับการศึกษาในระบบ ให้ถือว่ามีมาตรฐานการศึกษาเท่าเทียมกัน ให้ไว้ณวันที่21เมษายนพ.ศ.2546 (นายปองพล อดิเรกสาร) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (นายปองพล อดิเรกสาร) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการรักษาราชการแทน รัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัย

Page 21: คู่มือ - krabi.nfe.go.th:800krabi.nfe.go.th:800/37/UserFiles/File/k.pdfคู่มือ คณะกรรมการประเมินเทียบระดับการศึกษา

คู่มือ คณะกรรมการประเมินเทียบระดับการศึกษา ��

ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยการประเมินเทียบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน

และการศึกษาระดับอุดมศึกษา ระดับต่ำกว่าปริญญา พ.ศ. 2551

ด้วยกระทรวงศึกษาธิการ เห็นสมควรปรับปรุงระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการประเมินเทียบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานและการศึกษาระดับอุดมศึกษา ระดับต่ำกว่าปริญญาให้เหมาะสมยิ่งขึ้น อาศัยอำนาจตามความในข้อ 3 แห่งกฎกระทรวงว่าด้วยการแบ่งระดับและการเทียบระดับการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย พ.ศ. 2546 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการจึงวางระเบียบไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ1 ระเบียบนี้ เรียกว่า “ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการประเมินเทียบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานและการศึกษาระดับอุดมศึกษา ระดับต่ำกว่าปริญญา พ.ศ. 2551” ข้อ2 ระเบียบนี้ ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ3 ให้ยกเลิกระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการประเมินเทียบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานและการศึกษาระดับอุดมศึกษาระดับต่ำกว่าปริญญาพ.ศ.2546 บรรดาระเบียบ ข้อบังคับ และคำสั่งอื่นใด ในส่วนที่กำหนดไว้แล้วในระเบียบนี้ซึ่งขัดหรือแย้งกับระเบียบนี้ให้ใช้ระเบียบนี้แทน ข้อ4ในระเบียบนี้ “สถานศึกษา” หมายความว่า สถานศึกษาหรือหน่วยงานการศึกษาที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่จัดหรือส่งเสริมสนับสนุนการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน และสถานศึกษาหรือหน่วยงานการศึกษาที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่จัดการศึกษาระดับอุดมศึกษา ระดับต่ำกว่าปริญญาและเป็นสถานศึกษาหรือหน่วยงานการศึกษาที่เรียกชื่ออย่างอื่น ที่รัฐมนตรีกำหนดให้ทำหน้าที่เทียบระดับการศึกษา

Page 22: คู่มือ - krabi.nfe.go.th:800krabi.nfe.go.th:800/37/UserFiles/File/k.pdfคู่มือ คณะกรรมการประเมินเทียบระดับการศึกษา

คู่มือ คณะกรรมการประเมินเทียบระดับการศึกษา ��

“การเทียบระดับการศึกษา” หมายความว่า การนำผลการเรียน ความรู้และประสบการณ์ที่ได้รับการศึกษานอกระบบที่จัดเป็นหลักสูตรเฉพาะ หรือหลักสูตรฝึกอบรมตามความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย และการศึกษาตามอัธยาศัย การฝึกอาชีพ หรือจากประสบการณ์การทำงานมาประเมินเพื่อเทียบระดับการศึกษาระดับใดระดับหนึ่ง ข้อ5 ผู้ขอเทียบระดับการศึกษาต้องมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้ (1) มีสัญชาติไทยหรือเป็นบุคคลที่เข้าเมืองโดยชอบด้วยกฎหมาย (2) มีพื้นความรู้ในระดับการศึกษาที่ต่ำกว่าระดับที่ประสงค์จะขอเทียบระดับการศึกษาหนึ่งระดับยกเว้นการขอเทียบระดับก่อนประถมศึกษาและระดับประถมศึกษา (3) มีภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่เป็นประจำ ในเขตบริการการเทียบระดับการศึกษาของสถานศึกษา (4) ไม่เป็นนักเรียนหรือนักศึกษาซึ่งกำลังศึกษาอยู่ ในสถานศึกษาที่จัดการศึกษาในระบบหรือการศึกษานอกระบบที่แบ่งระดับเช่นเดียวกับการศึกษาในระบบ ข้อ6 การเทียบระดับการศึกษา ให้คำนึงถึงความสะดวกของผู้ขอเทียบระดับการศึกษาและความพร้อมของสถานศึกษาเป็นสำคัญ ข้อ7 สถานศึกษาซึ่งมีหน้าที่ดำเนินการเทียบระดับการศึกษา จะต้องประกาศกำหนดให้ผู้ขอเทียบระดับการศึกษา ยื่นคำร้องขอเทียบระดับการศึกษาและดำเนินการเทียบระดับการศึกษาเป็นการทั่วไปไม่น้อยกว่าปีการศึกษาละหนึ่งครั้ง ข้อ8 ผู้ที่ประสงค์จะเทียบระดับการศึกษา ให้ยื่นคำร้องขอเทียบระดับการศึกษาที่สถานศึกษาซึ่งตนมีภูมิลำเนา หรือถิ่นที่อยู่เป็นประจำตามวันเวลาที่สถานศึกษากำหนดพร้อมทั้งหลักฐานการมีคุณสมบัติที่จะขอเทียบระดับการศึกษา ตามข้อที่ 5 และอาจมีหลักฐานที่แสดงความรู้ ทักษะ และประสบการณ์จากการศึกษานอกระบบ การศึกษาตามอัธยาศัยการฝึกอาชีพหรือการทำงานตามที่สถานศึกษากำหนด ข้อ9 ให้สถานศึกษาแต่งตั้งคณะกรรมการประเมินเทียบระดับการศึกษาจำนวนไม่เกินห้าคน ทั้งนี้ต้องเป็นผู้มีความรู้และประสบการณ์ในสาขาวิชาของการศึกษาระดับนั้นจำนวนไม่น้อยกว่าสามคน และผู้มีความรู้และประสบการณ์ด้านวัดผลและประเมินผลจำนวนหนึ่งคน ดำเนินการประเมินเทียบระดับการศึกษา คณะกรรมการประเมินเทียบระดับการศึกษาของสถานศึกษา อาจแต่งตั้งคณะอนุกรรมการหรือคณะทำงานเพื่อพิจารณาหรือปฏิบัติการอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่คณะกรรมการมอบหมาย

Page 23: คู่มือ - krabi.nfe.go.th:800krabi.nfe.go.th:800/37/UserFiles/File/k.pdfคู่มือ คณะกรรมการประเมินเทียบระดับการศึกษา

คู่มือ คณะกรรมการประเมินเทียบระดับการศึกษา ��

ให้หน่วยงานต้นสังกัดจัดทำมาตรฐานการเรียนรู้ระดับการศึกษาเพื่อใช้สำหรับประเมินเทียบระดับการศึกษาที่สอดคล้องกับจุดหมายของหลักสูตร จัดทำหลักเกณฑ์ วิธีการกรอบและเครื่องมือประเมินเทียบระดับการศึกษา ให้สถานศึกษาจัดทำมาตรฐานการเรียนรู้ระดับการศึกษา เพื่อใช้สำหรับการประเมินเทียบระดับการศึกษาที่สอดคล้องกับวิสัยทัศน์และหลักสูตรของสถานศึกษาเพิ่มเติม รวมทั้งจัดทำเครื่องมือประเมินตามมาตรฐานการเรียนรู้ระดับการศึกษาที่สถานศึกษาจัดทำเพิ่มเติม ข้อ10การประเมินเทียบระดับการศึกษา ให้ประเมินมวลประสบการณ์ และความรู้ที่เป็นองค์รวมของบุคคลให้ครอบคลุมคุณลักษณะที่สำคัญทั้งด้านความรู้ทักษะกระบวนการคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยม ให้เป็นไปตามมาตรฐานการเรียนรู้ระดับการศึกษาที่สอดคล้องกับจุดมุ่งหมายของหลักสูตร ข้อ11ผู้ขอเทียบระดับการศึกษา จะต้องได้รับการประเมินผ่านมาตรฐานการเรียนรู้ระดับการศึกษาที่กำหนดจึงจะถือว่าผ่านการประเมินเทียบระดับการศึกษา ผู้ขอเทียบระดับการศึกษาที่ไม่ผ่านการประเมินตามวรรคแรก สามารถเก็บสะสมผลการประเมินในส่วนที่ผ่านมาตรฐานการเรียนรู้ระดับการศึกษาไว้ ได้ แต่ต้องเข้ารับการประเมินเทียบระดับการศึกษาให้ผ่านครบมาตรฐานการเรียนรู้ระดับการศึกษาตามที่กำหนดภายใน5ปีนับแต่วันที่อนุมัติผลตามคำร้องขอเทียบระดับการศึกษาครั้งแรก ข้อ12ให้หัวหน้าสถานศึกษาเป็นผู้พิจารณาอนุมัติผลการเทียบระดับการศึกษา ข้อ13ให้สถานศึกษาจัดทำหลักฐานแสดงผลการประเมินเทียบระดับการศึกษาเก็บไว้เป็นหลักฐานที่สถานศึกษาหนึ่งฉบับและมอบให้ผู้ขอเทียบระดับการศึกษาหนึ่งฉบับ นอกจากหลักฐานแสดงผลการประเมินเทียบระดับการศึกษาตามวรรคหนึ่งให้สถานศึกษาจัดทำรายงานผู้ผ่านการเทียบระดับการศึกษาส่งให้หน่วยงานที่สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยกำหนดหนึ่งฉบับ และเก็บไว้เป็นหลักฐานที่สถานศึกษาหนึ่งฉบับ หลักฐานแสดงผลการประเมินเทียบระดับการศึกษาตามวรรคหนึ่ง และรายงงานผู้ผ่านการเทียบระดับการศึกษาตามวรรคสองให้เป็นไปตามแบบที่แนบท้ายระเบียบนี้ การเปลี่ยนแปลงแก้ไขเพิ่มเติมแบบให้จัดทำโดยประกาศกระทรวงศึกษาธิการ ข้อ14การออกประกาศนียบัตร ให้เป็นไปตามระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการออกประกาศนียบัตร

Page 24: คู่มือ - krabi.nfe.go.th:800krabi.nfe.go.th:800/37/UserFiles/File/k.pdfคู่มือ คณะกรรมการประเมินเทียบระดับการศึกษา

คู่มือ คณะกรรมการประเมินเทียบระดับการศึกษา �0

ข้อ15ให้หน่วยงานต้นสังกัดของสถานศึกษา กำกับ ดูแล และตรวจสอบการดำเนินการเทียบระดับการศึกษาให้ ได้มาตรฐาน เป็นธรรม และกำหนดหลักเกณฑ์แนวปฏิบัติที่สอดคล้องกับการจัดการศึกษาของหน่วยงานต้นสังกัด ข้อ16ให้สถานศึกษาเรียกเก็บเงินค่าธรรมเนียมการเทียบระดับการศึกษาได้ตามหลักเกณฑ์ที่หน่วยงานต้นสังกัดกำหนด ข้อ17ให้สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยเป็นหน่วยงานกลางทำหน้าที่จัดทำนโยบายแผนพัฒนาการดำเนินงานการเทียบระดับการศึกษาและประสานงานการเทียบระดับการศึกษา ข้อ18ให้ปลัดกระทรวงศึกษาธิการรักษาการให้เป็นไปตามระเบียบนี้ และให้มีอำนาจตีความและวินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติตามระเบียบนี้ ประกาศณวันที่22พฤษภาคมพ.ศ.2551 สมชาย วงศ์สวัสดิ ์ (นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ

สำเนาถูกต้อง

นพรัตน์ เวโรจน์เสรีวงศ ์(นางนพรัตน์ เวโรจน์เสรีวงศ์)

นักวิชาการศึกษาชำนาญการพิเศษ

Page 25: คู่มือ - krabi.nfe.go.th:800krabi.nfe.go.th:800/37/UserFiles/File/k.pdfคู่มือ คณะกรรมการประเมินเทียบระดับการศึกษา

คู่มือ คณะกรรมการประเมินเทียบระดับการศึกษา ��

ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง เปลี่ยนแปลง แก้ไข เพิ่มเติมหลักฐานแสดงผลการประเมินเทียบระดับการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย และแบบรายงานผู้ผ่านการประเมินเทียบ

ระดับการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย

ด้วยหลักฐานแสดงผลการประเมินเทียบระดับการศึกษา และแบบรายงานผู้ผ่านการประเมินเทียบระดับการศึกษาตามแนบท้ายระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการประเมินเทียบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานและการศึกษาระดับอุดมศึกษา ระดับต่ำกว่าปริญญาพ.ศ.2551ยังขาดความสมบูรณ์ในเนื้อหาที่สำคัญเพื่อควบคุมการดำเนินงานให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อยถูกต้องครบถ้วนเกิดประโยชน์ต่อทางราชการจึงสมควรเปลี่ยนแปลงแก้ไขเพิ่มเติมให้เหมาะสมยิ่งขึ้น ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามข้อ 13 วรรคสี่ ของระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการประเมินเทียบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานและการศึกษาระดับอุดมศึกษา ระดับต่ำกว่าปริญญาพ.ศ. 2551 จึงให้เปลี่ยนแปลง แก้ไข เพิ่มเติมหลักฐานแสดงผลการประเมินเทียบระดับการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย และแบบรายงานผู้ผ่านการประเมินเทียบระดับการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ที่แนบท้ายระเบียบดังกล่าว และให้ ใช้หลักฐานแสดงผลการประเมินเทียบระดับการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย และแบบรายงานผู้ผ่านการประเมินเทียบระดับการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยแนบท้ายประกาศฉบับนี้แทนดังนี้ 1. ระเบียบแสดงผลการประเมินเทียบระดับการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานระดับประถมศึกษา 2. ระเบียบแสดงผลการประเมินเทียบระดับการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานระดับมัธยมศึกษาตอนต้น

Page 26: คู่มือ - krabi.nfe.go.th:800krabi.nfe.go.th:800/37/UserFiles/File/k.pdfคู่มือ คณะกรรมการประเมินเทียบระดับการศึกษา

คู่มือ คณะกรรมการประเมินเทียบระดับการศึกษา ��

3. ระเบียบแสดงผลการประเมินเทียบระดับการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย 4. แบบรายงานผู้ผ่านการประเมินเทียบระดับการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่การประเมินเทียบระดับการศึกษา ครั้งที่ 2 ปีการศึกษา 2551เป็นต้นไป จึงประกาศให้ทราบทั่วกัน ประกาศณวันที่30เมษายนพ.ศ.2552 (นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ

Page 27: คู่มือ - krabi.nfe.go.th:800krabi.nfe.go.th:800/37/UserFiles/File/k.pdfคู่มือ คณะกรรมการประเมินเทียบระดับการศึกษา

คู่มือ คณะกรรมการประเมินเทียบระดับการศึกษา ��

คำสั่งกระทรวงศึกษาธิการ ที่ สป 208/2552

เรื่อง การใช้ระเบียนแสดงผลการประเมินเทียบระดับการศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กศน.1 ทศ-)

เพื่ออนุวัติให้เป็นไปตามระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการประเมินเทียบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานและการศึกษาระดับอุดมศึกษา ระดับต่ำกว่าปริญญา พ.ศ. 2551 ข้อ 13 วรรคแรกเกี่ยวกับการจัดทำหลักฐานแสดงผลการประเมินเทียบระดับการศึกษา ซึ่งสถานศึกษาที่ทำหน้าที่เทียบระดับการศึกษาทุกแห่งต้องใช้เหมือนกันเพื่อประโยชน์ในการสื่อความเข้าใจที่ตรงกันและส่งต่อและเพื่อประโยชน์ในการควบคุมการจัดทำเอกสารหลักฐานการศึกษา ให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อยกระทรวงศึกษาธิการจึงกำหนดแบบพิมพ์ การพิมพ์ การซื้อ และการควบคุมการจัดทำระเบียนแสดงผลการประเมินเทียบระดับการศึกษา(กศน.1ทศ-)ดังต่อไปนี้ 1. ระเบียนแสดงผลการประเมินเทียบระดับการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน เป็นหลักฐานแสดงผลการประเมินที่สถานศึกษาต้องออกให้กับผู้เข้าประเมินทุกคนที่ผ่านการเทียบระดับการศึกษาแต่ละระดับการศึกษาหรือเมื่อมีความจำเป็นต้องออกจากสถานศึกษาโดยใช้แบบพิมพ์ที่กระทรวงศึกษาธิการกำหนดเท่านั้น 2. ลักษณะแบบพิมพ์ 2.1 แบบพิมพ์ระเบียนแสดงผลการประเมินเทียบระดับการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจำแนกเป็น3แบบคือ 2.1.1 ระเบียนแสดงผลการประเมินเทียบระดับการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานระดับประถมศึกษา(กศน.1ทศ-ถ) 2.1.2 ระเบียนแสดงผลการประเมินเทียบระดับการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานระดับมัธยมศึกษาตอนต้น(กศน.1ทศ-ต) 2.1.3 ระเบียนแสดงผลการประเมินเทียบระดับการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย(กศน.1ทศ-ป)ในการออกระเบียนแสดงผลการประเมินเทียบระดับการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย

Page 28: คู่มือ - krabi.nfe.go.th:800krabi.nfe.go.th:800/37/UserFiles/File/k.pdfคู่มือ คณะกรรมการประเมินเทียบระดับการศึกษา

คู่มือ คณะกรรมการประเมินเทียบระดับการศึกษา ��

ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานสถานศึกษาจะต้องใช้แบบพิมพ์ให้ถูกต้องตรงกับระดับการศึกษาของผู้ผ่านการประเมิน 2.2 แบบพิมพ์ระเบียนแสดงผลการประเมินเทียบระดับการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ทุกระดับการศึกษาจัดทำไว้ 2 แบบเพื่อสถานศึกษาเลือกใช้ให้เหมาะสมกับวิธีการจัดทำเอกสารของตนคือ 2.2.1 แบบพิมพ์ปกติ มีลักษณะเป็นแบบพิมพ์สมบูรณ์ครบถ้วน สำหรับใช้กรอกข้อมูลด้วยการเขียนหรือการพิมพ์ 2.2.2 แบบพิมพ์สำหรับพิมพ์ด้วยคอมพิวเตอร์ มีลักษณะเป็นกระดาษว่างพิมพ์เฉพาะชื่อเอกสารแต่ละระดับการศึกษาและหมายเลขควบคุมเอกสารเท่านั้น 2.3 เพื่อประโยชน์ ในการควบคุมและตรวจสอบเอกสาร จึงกำหนดให้มีชุดที่และเลขที่ประจำระเบียนแสดงผลการประเมินเทียบระดับการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยแต่ละระดับการศึกษาดังนี้ 2.3.1 ชุดที่ ในแต่ละระดับการศึกษาให้ใช้เลข 5 หลัก โดยเริ่มใช้ตั้งแต่00001จนถึง99999 2.3.2 เลขที่ ประจำระเบียนแสดงผลการประเมินเทียบระดับการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ให้ใช้เลข 6 หลัก โดยเริ่มตั้งแต่ 000001 จนถึง 999999ให้เลขที่ประจำระเบียนเป็นเลขย่อยของเลขชุดที่แต่ละชุด 3. การพิมพ์และการสั่งซื้อแบบพิมพ์ระเบียนแสดงผลการประเมินเทียบระดับการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยให้ปฏิบัติดังนี้ 3.1 ให้องค์การค้าของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา (สกสค.) จัดพิมพ์ภายใต้การควบคุมของสำนักงาน กศน. สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ 3.2 การสั่งซื้อแบบพิมพ์ ให้ผู้อำนวยการสำนักงาน กศน. จังหวัด หรือกรุงเทพมหานคร แล้วแต่กรณี เป็นผู้สั่งซื้อแบบพิมพ์ให้สถานศึกษาที่ทำหน้าที่เทียบระดับการศึกษาในเขตพื้นที่ที่รับผิดชอบ 4. การควบคุมและการเก็บรักษาแบบพิมพ์ กศน.1 ทศ-ถ, กศน.1 ทศ-ต,กศน.1ทศ-ปให้ถือปฏิบัติดังนี้ 4.1 ให้สำนักงาน กศน. จังหวัด หรือกรุงเทพมหานคร แล้วแต่กรณี และสถานศึกษาที่ทำหน้าที่เทียบระดับการศึกษาจัดทำบัญชีรับ-จ่ายแบบพิมพ์ไว้เป็นหลักฐาน 4.2 กรณีแบบพิมพ์เกิดสูญหายระหว่างทางขณะทำการขนส่งหรือสูญหายด้วยเหตุอื่น ๆ หรือเขียนผิดพลาดหรือสกปรกหรือเกิดการชำรุดเสียหายด้วยเหตุอื่นใด จนไม่อาจใช้การได้ให้ดำเนินการดังนี้

Page 29: คู่มือ - krabi.nfe.go.th:800krabi.nfe.go.th:800/37/UserFiles/File/k.pdfคู่มือ คณะกรรมการประเมินเทียบระดับการศึกษา

คู่มือ คณะกรรมการประเมินเทียบระดับการศึกษา ��

4.2.1 กรณีมีความเสียหายหรือสูญหายเกิดขึ้นในส่วนกลาง ให้ผู้ทำให้เกิดความเสียหายหรือสูญหาย ได้แก่ สถานศึกษา หรือสำนักงาน กศน. กรุงเทพมหานคร หรือองค์การค้าของสกสค.รายงานเลขาธิการกศน.โดยด่วน 4.2.2 กรณีมีความเสียหายหรือสูญหายเกิดขึ้นในส่วนภูมิภาค ให้ผู้ทำให้เกิดความเสียหายหรือสูญหายได้แก่สถานศึกษาหรือสำนักงานกศน.จังหวัดรายงานผู้ว่าราชการจังหวัดโดยด่วน 4.2.3 ให้เลขาธิการ กศน. หรือผู้ว่าราชการจังหวัด แล้วแต่กรณี ดำเนินการสอบสวนและรายงานสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ 4.2.4 ให้สำนักงาน กศน. จังหวัด หรือกรุงเทพมหานคร แล้วแต่กรณีประกาศยกเลิกแบบพิมพ์ฉบับที่เสียหายหรือสูญหาย พร้อมทั้งแจ้งกระทรวงศึกษาธิการ และส่วนราชการอื่น ๆ เพื่อมิให้เจ้าหน้าที่รับพิจารณาระเบียนแสดงผลการประเมินเทียบระดับการศึกษาฉบับที่เสียหายหรือสูญหายนั้น 4.2.5 กรณีมีความเสียหายอันเนื่องจากเขียนผิดพลาดหรือจากกรณีอื่น ๆจนไม่อาจใช้การได้ ให้ขีดเส้นทแยงมุมในแบบพิมพ์ระเบียนแสดงผลการประเมินเทียบระดับการศึกษาด้วยหมึกสีแดง2เส้นแล้วให้ติดไว้กับต้นขั้ว 5. ให้มีนายทะเบียนโดยให้หัวหน้าสถานศึกษาเป็นผู้แต่งตั้ง 6. ในการออก กศน.1 ทศ-ถ, กศน.1 ทศ-ต, กศน.1 ทศ-ป จะต้องออกเลขชุดที่เลขที่ และกรอกรายการต่าง ๆ ให้ตรงกับต้นฉบับ และสถานศึกษาจะต้องทำบัญชีการออกกศน.1ทศ-ถ,กศน.1ทศ-ต,กศน.1ทศ-ปไว้เป็นหลักฐานในทุกกรณี กรณีที่ผู้ผ่านการประเมินเทียบระดับการศึกษารับเอกสารระเบียนแสดงผลการประเมินเทียบระดับการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.1ทศ-) ไปแล้ว เมื่อมีความจำเป็นต้องขอฉบับใหม่ สถานศึกษาจะต้องกรอกเลขชุดที่ เลขที่ และรายการต่าง ๆ ให้ตรงกับเอกสารต้นฉบับ 7. สถานศึกษาจะต้องออกและกรอกระเบียนแสดงผลการประเมินเทียบระดับการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.1 ทศ-ถ, กศน.1 ทศ-ต, กศน.1 ทศ-ป)โดยปฏิบัติตามคำอธิบายแนบท้ายคำสั่งนี้

ทั้งนี้ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป

สั่งณวันที่30เมษายนพ.ศ.2552

(นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ

Page 30: คู่มือ - krabi.nfe.go.th:800krabi.nfe.go.th:800/37/UserFiles/File/k.pdfคู่มือ คณะกรรมการประเมินเทียบระดับการศึกษา
Page 31: คู่มือ - krabi.nfe.go.th:800krabi.nfe.go.th:800/37/UserFiles/File/k.pdfคู่มือ คณะกรรมการประเมินเทียบระดับการศึกษา

มาตรฐานและตัวบ่งชี้ การประเมินเทียบระดับการศึกษานอกระบบ

และการศึกษาตามอัธยาศัย

ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน

Page 32: คู่มือ - krabi.nfe.go.th:800krabi.nfe.go.th:800/37/UserFiles/File/k.pdfคู่มือ คณะกรรมการประเมินเทียบระดับการศึกษา

คู่มือ คณะกรรมการประเมินเทียบระดับการศึกษา ��

มาตรฐานและตัวบ่งชี้ การประเมินเทียบระดับการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย

ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน มิติที่ 1 ความรู้ ความคิด

ตัวบ่งชี้ ระดับมัธยมศึกษา ระดับมัธยมศึกษา ระดับประถมศึกษา มาตรฐาน ตอนต้น ตอนปลาย

1. ความสามารถในการสื่อสารทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ

2. ความสามารถในการ

คิดวิเคราะห์สังเคราะห์และตัดสิน

1.1 สรุปเรื่องต่างๆให้ผู้อื่นเข้าใจ(บทความข้อมูลสถิติ)

1.2 อธิบายสถานการณ์ตามหลักวิชา

2.1 ความรู้พื้นฐาน

ที่จำเป็นในการดำรงชีวิต

2.2 ระบุปัญหาสิ่งแวดล้อมสภาพแวดล้อมอาชีพและสังคมภายในท้องถิ่น

1.1 สรุปเรื่องต่างๆให้ผู้อื่นเข้าใจ(บทความข้อมูลสถิติยากและซับซ้อนขึ้นตามระดับ)

1.2 ตีความแปลความเรื่องต่างๆ

1.3 วิเคราะห์สถานการณ์

1.4 ใช้ภาษาต่างประเทศในการสื่อสารเรื่องใกล้ตัวกับบุคคลอื่น

2.1 ความรู้พื้นฐาน

ที่จำเป็นในการดำรงชีวิต

2.2 ระบุปัญหาสภาพแวดล้อมในประเทศ

1.1สรุปเรื่องต่างๆให้ผู้อื่นเข้าใจ(บทความข้อมูลสถิติยากและซับซ้อนขึ้นตามระดับ)

1.2ตีความแปลความเรื่องต่างๆ

1.3 วิจารณ์ให้ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับเรื่องต่างๆ

1.4 ใช้ภาษาต่างประเทศในการสื่อสาร

2.1 ความรู้พื้นฐาน

ที่จำเป็นในการดำรงชีวิต

2.2 ระบุปัญหาของสภาพแวดล้อมของโลก

Page 33: คู่มือ - krabi.nfe.go.th:800krabi.nfe.go.th:800/37/UserFiles/File/k.pdfคู่มือ คณะกรรมการประเมินเทียบระดับการศึกษา

ตัวบ่งชี้ ระดับมัธยมศึกษา ระดับมัธยมศึกษา ระดับประถมศึกษา มาตรฐาน ตอนต้น ตอนปลาย

คู่มือ คณะกรรมการประเมินเทียบระดับการศึกษา ��

3. ความสามารถในการแสวงหาความรู้และเทคโนโลยี

2.3 วิเคราะห์สาเหตุของปัญหาสิ่งแวดล้อมของโลก

2.4 แก้ปัญหาโดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์

2.5 เสนอแนวทางแก้ไขสภาพแวดล้อมของประเทศและของโลก

3.1แสวงหาข้อมูล/

ความรู้จากสื่อต่างๆ

3.2ติดตามความเคลื่อนไหวข่าวสาร

3.3สร้างองค์ความรู้จากข้อมูลและสารสนเทศ

3.4มีวิจารณญาณ

ในการเลือกใช้เทคโนโลยีและเลือกรับข้อมูลข่าวสาร

2.3วิเคราะห์สาเหตุของปัญหาสภาพแวดล้อมในประเทศ

2.4 แก้ปัญหาโดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์

2.5 เสนอแนวทางแก้ไขสภาพแวดล้อมในประเทศ

3.1 แสวงหาข้อมูล/

ความรู้จากสื่อต่างๆ

3.2ติดตามความเคลื่อนไหวข่าวสาร

3.3นำข่าวสารความรู้ไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวันและอาชีพ

3.4วางแผนการใช้เทคโนโลยีในงานอาชีพสังคมและสิ่งแวดล้อม

2.3 วิเคราะห์สาเหตุของปัญหาในท้องถิ่น

2.4 แก้ปัญหาโดยใช้

กระบวนการทางวิทยาศาสตร์

2.5 เสนอแนวทางแก้ไขปัญหาท้องถิ่น

3.1 แสวงหาข้อมูล/

ความรู้จากสื่อต่างๆ

3.2ติดตามความเคลื่อนไหวข่าวสาร

3.3ระบุเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับงานอาชีพสังคมและสิ่งแวดล้อม

3.4นำเทคโนโลยีไปใช้ในการดำรงชีวิตและการประกอบอาชีพ

Page 34: คู่มือ - krabi.nfe.go.th:800krabi.nfe.go.th:800/37/UserFiles/File/k.pdfคู่มือ คณะกรรมการประเมินเทียบระดับการศึกษา

ตัวบ่งชี้ ระดับมัธยมศึกษา ระดับมัธยมศึกษา ระดับประถมศึกษา มาตรฐาน ตอนต้น ตอนปลาย

คู่มือ คณะกรรมการประเมินเทียบระดับการศึกษา �0

3.5นำเทคโนโลยีไปใช้ในการหาความรู้และสร้างนวัตกรรมในการดำรงชีวิตและประกอบอาชีพ

4.1 ปฏิบัติตนและ

เสนอแนะวิธีการรักษาสุขภาพและปลอดภัยจากพฤติกรรมเสี่ยง

4.2 เสนอแนะวิธีการเลือกบริโภคอาหารให้ถูกหลักโภชนาการ

4.3แสดงออกทางอารมณ์ที่เหมาะสมกับวุฒิภาวะและเลือกแนวทางจัดการอารมณ์และความเครียดของตนเองและผู้อื่น

4.4เสนอแนะแนวทางในการสร้างเสริมและดำรงสมรรถภาพทางกายที่สอดคล้อง

3.5นำเทคโนโลยีไปใช้ในการหาความรู้การดำรงชีวิตและการประกอบอาชีพ

4.1ปฏิบัติตนในการ

รักษาสุขภาพและปลอดภัยจากพฤติกรรมเสี่ยง

4.2วิเคราะห์ข้อดีข้อด้อยของอาหารตามหลักโภชนาการ

4.3แสดงออกทางอารมณ์ที่เหมาะสมกับวุฒิภาวะและเลือกแนวทางจัดการอารมณ์และความเครียดของตนเองและผู้อื่น

4.4วางแผนเกี่ยวกับการสร้างเสริมและดำรงสมรรถภาพทางกายที่สอดคล้อง

4.1 อธิบายวิธีการ

รักษาสุขภาพและปลอดภัยจากพฤติกรรมเสี่ยง

4.2 เลือกบริโภคอาหารตามหลักโภชนาการ

4.3แสดงออกทาง

อารมณ์ที่เหมาะสมกับวุฒิภาวะและเลือกแนวทางจัดการอารมณ์และความเครียด

4.4มีความรู้เกี่ยวกับ

การสร้างเสริมและดำรงสมรรถภาพทางกาย

4. ความรู้ในเรื่องการดูแลสุขภาพกายและจิตของตน

Page 35: คู่มือ - krabi.nfe.go.th:800krabi.nfe.go.th:800/37/UserFiles/File/k.pdfคู่มือ คณะกรรมการประเมินเทียบระดับการศึกษา

ตัวบ่งชี้ ระดับมัธยมศึกษา ระดับมัธยมศึกษา ระดับประถมศึกษา มาตรฐาน ตอนต้น ตอนปลาย

คู่มือ คณะกรรมการประเมินเทียบระดับการศึกษา ��

กับผลการตรวจสุขภาพประจำปี

4.5เสนอแนะและเล่นกีฬาหรือออกกำลังกายอย่างปลอดภัย

4.6นำความรู้เกี่ยวกับพัฒนาการของมนุษย์ไปประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิต

4.7เสนอแนวทาง

ในการจัดการเพื่อให้ครอบครัวอบอุ่น

4.8เสนอแนวทางและ

มีส่วนร่วมในการส่งเสริมความเสมอภาคทางเพศและป้องกันตนเองจากการติดโรคทางเพศและการตั้งครรภ์ที่ไม่พึงประสงค์

4.9อธิบายการปฐม-พยาบาลเบื้องต้นและดูแลผู้อื่นเมื่อเจ็บป่วย

กับผลการตรวจสุขภาพประจำปี

4.5อธิบายวิธีการรักษาความปลอดภัยในการออกกำลังกายหรือเล่นกีฬาที่สนใจ

4.6อธิบายพัฒนาการและปัจจัยที่ส่งผลต่อพัฒนาการด้านอารมณ์จิตใจสติปัญญาและสังคม

4.7วางแผนชีวิตของครอบครัวและส่งเสริมสัมพันธภาพที่ดีในครอบครัว

4.8หลีกเลี่ยงและป้องกันตนจากการติดโรคทางเพศและการตั้งครรภ์ที่ไม่พึงประสงค์

4.9อธิบายการปฐม-

พยาบาลเบื้องต้นและดูแลผู้อื่นเมื่อเจ็บป่วย

4.5อธิบายประโยชน์

การออกกำลังกายหรือเล่นกีฬา

4.6มีความรู้เกี่ยวกับ

พัฒนาการวัยต่างๆของมนุษย์

4.7อธิบายบทบาทของ

ตนเองในการทำให้ครอบครัวอบอุ่นมีความสุข

4.8อธิบายการป้องกันโรคจากพฤติกรรมทางเพศและการตั้งครรภ์ที่ไม่พึงประสงค์

4.9อธิบายการปฐม-

พยาบาลเบื้องต้นและดูแลผู้อื่นเมื่อเจ็บป่วย

Page 36: คู่มือ - krabi.nfe.go.th:800krabi.nfe.go.th:800/37/UserFiles/File/k.pdfคู่มือ คณะกรรมการประเมินเทียบระดับการศึกษา

ตัวบ่งชี้ ระดับมัธยมศึกษา ระดับมัธยมศึกษา ระดับประถมศึกษา มาตรฐาน ตอนต้น ตอนปลาย

คู่มือ คณะกรรมการประเมินเทียบระดับการศึกษา ��

5.1 อธิบายเหตุการณ์สำคัญในประวัติศาสตร์ชาติไทยและผลที่เกิดขึ้น

5.2แสดงความคิดเห็น

เกี่ยวกับคุณค่าด้านดนตรีที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นภูมิปัญญาไทยและสากล

5.3มีความรู้เกี่ยวกับนาฏศิลป์และศิลปะการแสดงเกี่ยวกับวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นภูมิปัญญาไทย

และภูมิปัญญาสากล5.4นำหลักธรรม

ทางศาสนาและค่านิยมที่ดีงามทางสังคม

5.1 ระบุเหตุการณ์สำคัญในประวัติศาสตร์ชาติไทย

5.2 สะท้อนคุณค่า

ด้านดนตรีที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นภูมิปัญญาไทยและสากล

5.3สะท้อนคุณค่า

นาฏศิลป์และศิลปะการแสดงเกี่ยวกับวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นภูมิปัญญาไทยและภูมิปัญญาสากล

5.4นำหลักธรรมทางศาสนาและค่านิยมที่ดีงามทางสังคม

5.1 วิเคราะห์เหตุการณ์สำคัญในประวัติศาสตร์ไทยที่มีผลต่อวัฒนธรรมการเมืองการปกครองหรือเศรษฐกิจหรือสังคม

5.2ประยุกต์ใช้ดนตรีที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรมภูมิปัญญาไทยและสากลมาใช้ในชีวิตประจำวัน

5.3 สะท้อนคุณค่า

นาฏศิลป์และศิลปะการแสดงเกี่ยวกับวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นภูมิปัญญาไทยและภูมิปัญญาสากล

5.4นำหลักธรรมทางศาสนาและค่านิยมที่ดีงามทางสังคม

5. ความเป็นไทยความเป็นสากลและพลเมืองดี

Page 37: คู่มือ - krabi.nfe.go.th:800krabi.nfe.go.th:800/37/UserFiles/File/k.pdfคู่มือ คณะกรรมการประเมินเทียบระดับการศึกษา

ตัวบ่งชี้ ระดับมัธยมศึกษา ระดับมัธยมศึกษา ระดับประถมศึกษา มาตรฐาน ตอนต้น ตอนปลาย

คู่มือ คณะกรรมการประเมินเทียบระดับการศึกษา ��

ไปใช้ในการพัฒนาตนให้อยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข

5.5นำเสนอคุณธรรม

จริยธรรมของบุคคลในครอบครัวชุมชนท้องถิ่นที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้เป็นแนวทางปฏิบัติ

5.6อธิบายความงามของธรรมชาติและผลงานทางศิลปะ

5.7มีศิลปะในการสร้างเสริมบุคลิกภาพประดับตกแต่งที่อยู่อาศัย/ที่ทำงานและเครื่องใช้

ไปใช้ในการพัฒนาตนสังคมและท้องถิ่นให้อยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข

5.5วิเคราะห์ลักษณะของคนดีตามหลักธรรมทางศาสนาและนำมาเป็นแบบอย่างในการปฏิบัติตาม

5.6วิเคราะห์ความงามทางธรรมชาติและผลงานทางศิลปะ

5.7นำความรู้ทางทัศนศิลป์มาสร้างเสริมบุคลิกภาพประดับตกแต่งที่อยู่อาศัยที่ทำงานและเครื่องใช้สอยและวิเคราะห์วิจารณ์ผลงานที่สร้างสรรค์เกี่ยวกับการประดับตกแต่ง

ไปใช้ในการพัฒนาตนสังคมและท้องถิ่นให้อยู่ร่วมกันอย่างสันติ

5.5 วิจารณ์ปัญหาทางสังคมและเสนอแนะแนวทางปฏิบัติโดยใช้หลักธรรมทางศาสนา

5.6 วิจารณ์ผลงานทาง

ศิลปะแขนงต่างๆและให้ข้อเสนอแนะ

5.7นำความรู้ทางทัศนศิลป์มาสร้างเสริมบุคลิกภาพประดับตกแต่งที่อยู่อาศัยที่ทำงานและเครื่องใช้สอยและวิเคราะห์วิจารณ์ผลงานที่สร้างสรรค์เกี่ยวกับการประดับตกแต่ง

Page 38: คู่มือ - krabi.nfe.go.th:800krabi.nfe.go.th:800/37/UserFiles/File/k.pdfคู่มือ คณะกรรมการประเมินเทียบระดับการศึกษา

ตัวบ่งชี้ ระดับมัธยมศึกษา ระดับมัธยมศึกษา ระดับประถมศึกษา มาตรฐาน ตอนต้น ตอนปลาย

คู่มือ คณะกรรมการประเมินเทียบระดับการศึกษา ��

5.8 สร้างสรรค์งานศิลปะง่ายๆและสื่อสารให้คนอื่นเข้าใจ

5.9อธิบายสาระสำคัญ

ของกฎหมายรัฐธรรมนูญและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องในชีวิตประจำวัน

5.10อธิบายแนวคิดหลัก

และวิธีการของเศรษฐกิจพอเพียง

6.1อธิบายวิธีประหยัด

การใช้พลังงานทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อมในชีวิตและอาชีพ

5.8สร้างสรรค์งานศิลปะและสื่อสารให้คนอื่นเข้าใจ

5.9อธิบายสาระสำคัญ

ของกฎหมายรัฐธรรมนูญกฎหมายที่ใช้ในชีวิตประจำวันและกฎหมายมหาชนได้

5.10อธิบายแนวคิดหลัก

และวิธีการทางเศรษฐกิจพอเพียงและนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน

6.1ใช้พลังงาน

ทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อมอย่างประหยัดคุ้มค่าและถูกวิธี

5.8สร้างสรรค์งานศิลปะได้อย่างหลากหลายและสื่อสารให้คนอื่นเข้าใจ

5.9อธิบายสาระสำคัญของกฎหมายรัฐธรรมนูญกฎหมายที่ใช้ในชีวิตประจำวันกฎหมายมหาชนและกฎหมายความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ

5.10วิเคราะห์หลักการเศรษฐกิจพอเพียงที่นำมาใช้ในการดำเนินชีวิต

6.1รณรงค์ถึง

การใช้พลังงานทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อมอย่างประหยัด

6.ความรู้เรื่องทรัพยากรสิ่งแวดล้อมและการดำรงชีวิต

Page 39: คู่มือ - krabi.nfe.go.th:800krabi.nfe.go.th:800/37/UserFiles/File/k.pdfคู่มือ คณะกรรมการประเมินเทียบระดับการศึกษา

คู่มือ คณะกรรมการประเมินเทียบระดับการศึกษา ��

มาตรฐาน ตัวบ่งชี้

มิติที่ 2 ประสบการณ์

1.ลักษณะ/วิธีการ/ขั้นตอนการประกอบอาชีพพร้อมแสดงหลักฐาน

2. พัฒนาการของการประกอบอาชีพตั้งแต่เริ่มต้นจนถึงปัจจุบัน

3. แนวทาง/วิธีการในการแสวงหาข้อมูลความรู้เกี่ยวกับอาชีพของตน

4.การบริหารจัดการเกี่ยวกับรายรับรายจ่ายคนวัสดุอุปกรณ์ในงานอาชีพ(ประกอบด้วยองค์ประกอบ3ด้านได้แก่การบริหารเงินการบริหารบุคลากรและการบริหารวัสดุ/อุปกรณ์)

5.คุณธรรมจริยธรรมที่นำมาใช้ในการประกอบอาชีพ(องค์ประกอบ3ด้านได้แก่จำนวนคุณภาพวิธีการนำคุณธรรมและผลที่เกิดจากการใช้คุณธรรมในการประกอบอาชีพ)

6.สามารถแก้ปัญหาในการทำงาน(มี3องค์ประกอบได้แก่สภาพปัญหาที่เกิดขึ้นจากการทำงานแนวทางแก้ไขและผลที่ได้รับ)

7.ผลที่เกิดจากการประกอบอาชีพที่มีต่อตนเองชุมชนและสังคม(มี3องค์ประกอบได้แก่ผลที่เกิดกับตนเองผลที่เกิดกับชุมชนและผลที่เกิดกับสังคม)

1. ด้านการพัฒนาอาชีพ คำอธิบายตัวบ่งชี ้อธิบายลักษณะ/วิธีการ/ขั้นตอนการประกอบอาชีพการบริหารจัดการเกี่ยวกับรายรับรายจ่าย

Page 40: คู่มือ - krabi.nfe.go.th:800krabi.nfe.go.th:800/37/UserFiles/File/k.pdfคู่มือ คณะกรรมการประเมินเทียบระดับการศึกษา

คู่มือ คณะกรรมการประเมินเทียบระดับการศึกษา ��

มาตรฐาน ตัวบ่งชี้

1.ลักษณะ/วิธีการ/ขั้นตอนการดูแลสุขภาพของตนเองและครอบครัวพร้อมแสดงหลักฐานเชิงประจักษ์

2.การดูแลและสร้างเสริมสุขภาพจิต

3.ผลที่เกิดจากการดูแลและสร้างเสริมสุขภาพกายและสุขภาพจิต

4.การป้องกันและแก้ไขในสถานการณ์เสี่ยงต่อชีวิตและทรัพย์สิน

5.การปฏิบัติตนในเรื่องศิลปะดนตรีนาฏศิลป์1. ลักษณะ/วิธีการ/ขั้นตอนการมีส่วนร่วมในการ

พัฒนาสังคมและชุมชนพร้อมแสดงหลักฐาน

2.ผลที่เกิดจากการมีส่วนร่วมในกิจกรรมพัฒนาสังคมและชุมชน

3.ปฏิบัติตนตามหลักของทางศาสนาที่ตนนับถือมีคุณธรรมจริยธรรมและค่านิยมที่พึงประสงค์

2. ด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิต 3. ด้านการพัฒนาสังคมและชุมชน คำอธิบายตัวบ่งชี ้ผู้เข้าประเมินสามารถพูดและ/หรือเขียนอธิบายถึงลักษณะ/วิธีการ/ขั้นตอนการมีส่วนร่วมในการพัฒนาสังคมและชุมชนพร้อมแสดงทั้งหลักฐานประกอบในแฟ้มผลงาน

คำอธิบายตัวบ่งชี ้ผู้เข้าประเมินสามารถพูดและ/หรือเขียนถึงผลดีหรือประโยชน์ของการเข้าร่วมกิจกรรมพร้อมทั้งระบุถึงบทบาทหน้าที่ที่เข้าร่วมกิจกรรมพัฒนาสังคมและชุมชนได้

คำอธิบายตัวบ่งชี ้ผู้เข้าประเมินสามารถพูดและ/หรือเขียนเกี่ยวกับพฤติกรรมในชีวิตประจำวันที่สะท้อนถึงการปฏิบัติตนตามหลักธรรมทางศาสนาที่ตนนับถือพร้อมทั้งยกตัวอย่าง

Page 41: คู่มือ - krabi.nfe.go.th:800krabi.nfe.go.th:800/37/UserFiles/File/k.pdfคู่มือ คณะกรรมการประเมินเทียบระดับการศึกษา

คู่มือ คณะกรรมการประเมินเทียบระดับการศึกษา ��

มาตรฐาน ตัวบ่งชี้

คุณธรรมในการประกอบวิชาชีพจริยธรรมและค่านิยมที่แสดงถึงความเป็นคนดีของตนเอง

คำอธิบายตัวบ่งชี ้ให้ผู้เข้าประเมินเขียน/พูดนำเสนอข้อมูลที่แสดงถึงการมีจิตสำนึกในการเป็นผู้อนุรักษ์ศิลปะวัฒนธรรมประเพณีทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมโดยได้เคยปฏิบัติตนในเรื่องนั้นๆอย่างไรเช่น

1.การร่วมกิจกรรมที่เป็นศิลปะวัฒนธรรมขนบธรรมเนียมประเพณีโดยเป็นผู้ส่งเสริมผู้เผยแพร่ให้มีการสืบทอดกิจกรรมนั้นๆต่อไป

2.การเป็นผู้อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติการพัฒนาสิ่งแวดล้อมและเป็นผู้ใช้พลังงานอย่างประหยัด

คำอธิบายตัวบ่งชี ้ให้ผู้เข้าประเมินเขียน/พูดแสดงความคิดเห็นความรู้สึกชื่นชมความภาคภูมิใจในประสบการณ์การมีส่วนร่วมกิจกรรมการพัฒนาสังคมและชุมชนพร้อมทั้งยกตัวอย่างประกอบหรือแสดงความคิดเห็นความรู้สึกชื่นชมภาคภูมิใจในประสบการณ์ของชีวิตที่ประมวลมานำเสนอทั้งในด้านชีวิตส่วนตัวครอบครัวการงานอาชีพการพัฒนาคุณภาพชีวิตและการพัฒนาสังคมและชุมชนพร้อมทั้งยกตัวอย่างประกอบ

4. จิตสำนึกในการอนุรักษ์ศิลปะวัฒนธรรมประเพณีทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

5.แสดงความรู้สึกความคิดเห็นในการเข้าร่วมกิจกรรมการพัฒนาสังคมและชุมชน

Page 42: คู่มือ - krabi.nfe.go.th:800krabi.nfe.go.th:800/37/UserFiles/File/k.pdfคู่มือ คณะกรรมการประเมินเทียบระดับการศึกษา
Page 43: คู่มือ - krabi.nfe.go.th:800krabi.nfe.go.th:800/37/UserFiles/File/k.pdfคู่มือ คณะกรรมการประเมินเทียบระดับการศึกษา

คู่มือ คณะกรรมการประเมินเทียบระดับการศึกษา ��

✿ แบบบันทึกคะแนนประเมินมิติประสบการณ์ : แฟ้มประมวลประสบการณ ์ ✿ แบบบันทึกคะแนนประเมินมิติประสบการณ์ : การสัมภาษณ์ ✿ แบบสรุปผลการประเมินเทียบระดับการศึกษา : มิติประสบการณ์ ครั้งที่........ปีการศึกษา.................... ✿ แบบสรุปผลการประเมินเทียบระดับการศึกษา : มิติความรู้ ความคิด ครั้งที่........ปีการศึกษา.................... ✿ แบบสรุปผลการประเมินเทียบระดับการศึกษา ครั้งที่........ปีการศึกษา....................

Page 44: คู่มือ - krabi.nfe.go.th:800krabi.nfe.go.th:800/37/UserFiles/File/k.pdfคู่มือ คณะกรรมการประเมินเทียบระดับการศึกษา

คู่มือ คณะกรรมการประเมินเทียบระดับการศึกษา �0

1. กรรมการรายบุคคล

แบบบันทึกคะแนนประเมินมิติประสบการณ์ : แฟ้มประมวลประสบการณ ์

ด้านการพัฒนาอาชีพ

ด้านการพัฒนาคุณ

ภาพชีวิต

ด้านการพัฒนาสังคมและชุมชน

ระดับ

ประถมศึกษา

มัธยมศึกษาตอนต้น

มัธยมศึกษาตอนปลาย

สถานศึกษาเทียบระดับการศึกษา กศน. อำเภอ...................................จังหวัด.....................................

ลำดับ

คะแนนรายตัวบ่งชี้

ชื่อ-สกุล

รวม

เหตุผลประกอบการให้คะแนน

หมายเหตุ

ที่

1

2 3

4 5

6 7

ลงชื่อ.......................................................................กรรมการคนที่....................

(.......................................................................)

Page 45: คู่มือ - krabi.nfe.go.th:800krabi.nfe.go.th:800/37/UserFiles/File/k.pdfคู่มือ คณะกรรมการประเมินเทียบระดับการศึกษา

คู่มือ คณะกรรมการประเมินเทียบระดับการศึกษา ��

แบบบันทึกคะแนนประเมินมิติประสบการณ์ : การสัมภาษณ ์

ด้านการพัฒนาอาชีพ

ด้านการพัฒนาคุณ

ภาพชีวิต

ด้านการพัฒนาสังคมและชุมชน

ระดับ

ประถมศึกษา

มัธยมศึกษาตอนต้น

มัธยมศึกษาตอนปลาย

สถานศึกษาเทียบระดับการศึกษา กศน. อำเภอ...................................จังหวัด.....................................

สัมภาษณ

์วันที่...............เดือน.......................................พ.ศ. .............................

ลำดับ

คะแนน

คะแนน

ชื่อ-สกุลผู้เข้าประเมิน

ตัวบ่งชี้

เหตุผลประกอบการให้คะแนน

ที่

เต็ม

ที่ได้

ลงชื่อ.......................................................................กรรมการคนที่....................

(.......................................................................)

2. กรรมการรายบุคคล

1 2 3 4 5 6 7 1 2 3 4 5 6 7

Page 46: คู่มือ - krabi.nfe.go.th:800krabi.nfe.go.th:800/37/UserFiles/File/k.pdfคู่มือ คณะกรรมการประเมินเทียบระดับการศึกษา

คู่มือ คณะกรรมการประเมินเทียบระดับการศึกษา ��

แบบสรุปผลการประเมินเทียบระดับการศึกษา : มิติประสบการณ์ ครั้งที่.......ปีการศึกษา................

ด้านการพัฒนาอาชีพ

ด้านการพัฒนาคุณ

ภาพชีวิต

ด้านการพัฒนาสังคมและชุมชน

ระดับ

ประถมศึกษา

มัธยมศึกษาตอนต้น

มัธยมศึกษาตอนปลาย

สถานศึกษาเทียบระดับการศึกษา กศน. อำเภอ...................................จังหวัด.....................................

คะแนนแฟ้ม

คะแนนสัมภาษณ์

รวม

ผลการประเมิน

คะแนน

ร้อยละ

ลำดับ

รวม

รวม

แฟ้ม+

ของ

ชื่อ-สกุล

กรรมการ กรรมการ กรรมการ

คะแนน

กรรมการ กรรมการ กรรมการ

คะแนน

คะแนน

คะแนน

สัมภาษณ

์ คะแนน

ผ่าน/

ที่

คนที่ 1

คนที่ 2

คนที่ 3

เฉลี่ย

คนที่ 1

คนที่ 2

คนที่ 3

เฉลี่ย

แฟ้ม

สัมภาษณ

100

ที่ได้

40

40

40

40

60

60

60

60

ไม่ผ่าน

120

180

คะแนน

คะแนน

คะแนน

คะแนน

คะแนน

คะแนน

คะแนน

คะแนน

คะแนน

คะแนน

คะแนน

3. สถานศึกษา

ลงชื่อ.............................................ผู้กรอกคะแนนและประมวลผลลงชื่อ............................................ผู้ตรวจลงชื่อ............................................ประธาน

(.............................................)

(.............................................)(.............................................)

Page 47: คู่มือ - krabi.nfe.go.th:800krabi.nfe.go.th:800/37/UserFiles/File/k.pdfคู่มือ คณะกรรมการประเมินเทียบระดับการศึกษา

คู่มือ คณะกรรมการประเมินเทียบระดับการศึกษา ��

แบบสรุปผลการประเมินเทียบระดับการศึกษา : มิติความรู้ ความคิด ครั้งที่.......ปีการศึกษา................

ระดับ

ประถมศึกษา

มัธยมศึกษาตอนต้น

มัธยมศึกษาตอนปลาย

สถานศึกษาเทียบระดับการศึกษา กศน. อำเภอ...................................จังหวัด.....................................

ผลการ

รหัสประจำตัว เลขประจำตัว

ผลคะแนนรายมาตรฐาน

รวม ร้อยละของ

ลำดับที่

ชื่อ-สกุล

ประเมิน

ผู้เข้าประเมิน

ประชาชน

คะแนน คะแนนที่ได้

1

2

3

4

5

6

ผ่าน/ไม่ผ่าน

4. สถานศึกษา

ลงชื่อ.............................................ผู้กรอกคะแนนและประมวลผลลงชื่อ............................................ผู้ตรวจลงชื่อ............................................ประธาน

(.............................................)

(.............................................)(.............................................)

Page 48: คู่มือ - krabi.nfe.go.th:800krabi.nfe.go.th:800/37/UserFiles/File/k.pdfคู่มือ คณะกรรมการประเมินเทียบระดับการศึกษา

คู่มือ คณะกรรมการประเมินเทียบระดับการศึกษา ��

แบบสรุปผลการประเมินเทียบระดับการศึกษา ครั้งที่.......ปีการศึกษา................

ระดับ

ประถมศึกษา

มัธยมศึกษาตอนต้น

มัธยมศึกษาตอนปลาย

สถานศึกษาเทียบระดับการศึกษา กศน. อำเภอ...................................จังหวัด.....................................

5. สถานศึกษา

รหัสประจำตัว เลขประจำตัว

ลำดับที่

ชื่อ-สกุล

ผู้เข้าประเมิน

ประชาชน

อายุ

อาชีพ

ลงชื่อ.............................................ผู้กรอกคะแนนและประมวลผลลงชื่อ............................................ผู้ตรวจลงชื่อ............................................ประธาน

(.............................................)

(.............................................)(.............................................)

ร้อยละของคะแนนที่ได ้

ผลการ

ประเมิน

ความรู้

พัฒนา พัฒ

นา

พัฒนาสังคม ผ่าน/

ความคิด อาชีพ คุณ

ภาพชีวิต และชุมชน ไม่ผ่าน


Recommended